วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
สื่อโทรทัศน์เป็นสื่อสารมวลชน ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เหมาะสมที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ และข้อมูลข่าวสารแก่ ประชาชน นักเรียนนักศึกษา ได้เป็นจำนวนมาก ด้วยการลงทุนต่อรายหัวที่ต่ำ โดยใช้เป็นสื่อที่ช่วยเสริมการเรียนการสอนในโรงเรียน นอกโรงเรียน และให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป สื่อโทรทัศน์จึงเป็นสื่อที่ช่วยสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โดยช่วยเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษา แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาที่อยู่ในชนบทห่างไกล ช่วยให้ครูและนักเรียนมีโอกาสพัฒนาแนวคิด ให้ทันโลกไร้พรมแดน เนื่องจากปัจจุบันมีความรู้ใหม่ๆ ในด้านต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา สื่อโทรทัศน์จึงเป็นสื่อที่สามารถนำความรู้และข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการนำสื่อสารมวลชนมาใช้ในการจัดการศึกษาให้กับประชาชน ได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เพื่อนำสื่อมวลชนมาใช้ประโยชน์สาธารณะ ได้แก่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3
ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ในมาตรา 47 กำหนดว่าคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของธรรมชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งการดำเนินงานต้องคำนึงถึง ประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545 หมวด 9
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้กำหนดไว้ใน มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยการทะนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น





พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 มาตรา 25
การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐและประโยชน์สาธารณะอื่น

อ้างอิง: โครงการวิทยุ/โทรทัศน์เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กศน.พ.ศ.2551

แผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

แผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
หลักสูตร...................................ชั้น...................................
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ประวัติยุวกาชาด เวลา 60 นาที
สอนวันที่ 3 ธันวาคม 2553 จำนวนนักเรียน 15 คน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.สาระสำคัญ
1. เรียนรู้และเข้าใจเรื่องประวัติของยุวกาชาด ได้แก่ การกำเนิดยุวกาชาด ผู้ให้กำเนิดยุวกาชาด ประวัติยุวกาชาด หลักการกาชาด การตั้งสภาอุณาโลมแดง
2. เงื่อนที่ใช้ในการปฐมพยาบาล
3. การประดิษฐ์ (การพับนกจากกระดาษ)

2.จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจเรื่องประวัติของยุวกาชาด การกำเนิดยุวกาชาด ผู้ให้กำเนิดยุวกาชาด หลักการกาชาด การตั้งสภาอุณาโลมแดง
2. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากการผูกเงื่อนไปใช้ในการปฐมพยาบาลขั้นต้นให้ผู้ป่วย หรือผู้ได้รับบาดเจ็บ
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประดิษฐ์ของตกแต่งบ้านเอง

3.สาระการเรียนรู้
1. ยุวกาชาดกำเนิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่บาดเจ็บจากการทำสงคราม ผู้ให้กำเนิดยุวกาชาดคือ อังรีดูนังด์ (Jean Henry Dunant) หลักการกาชาด และการตั้งสภาอุณาโลม
2. ขั้นตอนการผูกเงื่อนในการปฐมพยาบาลขั้นต้นให้ผู้ป่วย หรือผู้ได้รับบาดเจ็บ
3. ขั้นตอนในการประดิษฐ์ และประโยชน์

4.กิจกรรมการเรียนรู้
4.1 การนำเข้าสู่บทเรียน ทดสอบก่อนเรียน โดยการตั้งคำถาม
4.2 ขั้นกิจกรรม
4.2.1 แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม ผู้เรียนมีทั้งหมด 15 คน โดยแบ่งเท่าๆ กัน หนึ่งกลุ่มจะมีสมาชิกกลุ่ม 5 คน
4.2.2 ให้แต่งละกลุ่มเข้าเรียนตามฐาน แต่ละฐานใช้เวลาในการสอน 20 นาที เมื่อหมดเวลาในแต่ละฐาน ให้เวียนฐาน จนกว่าจะครบทั้ง 3 ฐาน
ฐานประกอบด้วย
ฐานที่ 1 ประวัติของยุวกาชาด (นางสาวจิฬาพร เสนสวนจิก)
ฐานที่ 2 เงื่อนที่ใช้ในการปฐมพยาบาล (นางสาวสุกานดา มาสวนจิก)
ฐานที่ 3 การประดิษฐ์ (การพับนกจากกระดาษ) (นางสาวจิดาภา หมู่พรมมา)
4.3 การสรุป ให้ผู้สอนในแต่ละฐานสรุปเนื้อหา

5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. กระดานความรู้เรื่องประวัติของยุวกาชาด
2. กระดานความรู้เรื่องการผูกเงื่อนที่ใช้ในการปฐมพยาบาล
3. เชือกผูกเงื่อน
4. กระดาษในการประดิษฐ์

6.กิจกรรมการวัดและประเมินผล
1. ตั้งคำถามก่อนและหลังเรียน เพื่อทดสอบความรู้ที่ได้รับจากการเข้าชั้นเรียนในแต่ละฐาน โดยสุ่มถามคำถามผู้เรียนคนละ 1 คำถาม ฐานที่ 1 เรื่องประวัติยุวกาชาด ผู้ให้กำเนิด และยุวกาชาดเกิดขึ้นเพื่ออะไร ฐานที่ 2 เงื่อนที่ใช้ในการปฐมพยาบาล และฐานที่ 3 ประโยชน์ในการประดิษฐ์
2. เก็บผลงานนักเรียน และให้คะแนนการทำงาน
3. เกณฑ์การประเมิน มี 4 ระดับ คือ ดีมาก พอใช้ ปรับปรุงแก้ไข และไม่ผ่าน












ใบความรู้ที่ 1 (ฐานที่ 1)
ประวัติกาชาดและยุวกาชาดสากล
ผู้ให้กำเนิดการกาชาด จองอังรีดูนังต์ ( Jean Henry Dunant) เป็นชาวสวิสเกิดที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ได้เกิดสงครามที่หมู่บ้านซอลฟาริโน ในประเทศอิตาล เป็นสงครามระหว่างพระเจ้านโปเลียนที่3กับพระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่2 กษัตริย์แห่งชาดิเนียกัจักรพรรดิฟรานซิสโจเซฟที่1แห่งออสเตรีย ขณะสงครามจองอังรี ดูนังต์ ได้เดินทางผ่านพบเห็นเหตุการณ์ที่มีการสู้รบที่รุนแรงมีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จึงได้ให้การช่วยเหลือโดยขอร้องชาวบ้านหมู่บ้านซอลฟาริโนมาช่วยกันรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บทั้งสองฝ่าย
หลังจากเหตุการณ์ที่หมู่บ้านซอลฟาริโน เขาได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า "ความทรงจำแห่งหมู่บ้านซอลฟาริโน" ในหนังสือได้กล่าวถึงความเป็นไปที่จะจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยดูแลทหารบาดเจ็บยามสงคราม ความคิดของ จอง อังรีดูนังต์ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุมสมาคมสงเคราะห์สาธารณแห่งเจนีวาที่ประชุมตั้งอนุกรรมการ5คน"Committee Of Five" ซึ่งทที่มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2406 เรียกตนเองว่า "คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อการบรรเทาทุกข์นักรบบาดเจ็บ" หลังจากนี้อีก18ปีคือปีพ.ศ.2423ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ" รัฐบาลสิสเซอร์แลนด์จัดประชุมนานาชาติขึ้นมีประเทศอื่นๆในยุโรปเข้าร่วมประชุม12ประเทศผลจากที่ประชุมได้ตกลงกันภายฬต้ "อนุสัญญาเจนีวา" มีสาระสำคัญในการสงเคราะห์ผู้บาดเจ็บจากสนามรบจะได้รับการคุ้มครองภายใต้ เครื่องหมายกาบาทแดงบนพื้นขาว อนุสัญญาเจนีวาทั้ง4ฉบับมีสาระสำคัญดังนี้
อนุสัญญาฉบับที่1 ว่าด้วยความช่วยเหลือที่ให้แก่ทหารบาดเจ็บและป่วยในสนามรบ
อนุสัญญาฉบับที่2 ว่าด้วยความช่วยเหลือทหารที่ได้รับาดเจ็บ
อนุสัญญาฉบับที่3 ว่าด้วยการปฎิบัติต่อเชลยศึก
อนุสัญญาฉบับที่4 ว่าด้วยการคุ้มครองพลเรือนยามสงคราม
สัญลักษณ์การกาชาด
กากบาทแดงบนพื้นขาวใช้ในประเทศทั่วไปเป็นรูปกาบาทแดง 5 รูป

ซีกวงเดือนแดง ( RED CRESCENT) ใช้เฉพาะกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลาม

หลักการกาชาด หมายถึง แนวทางการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมของสภากาชาดประเทศต่างๆที่เป็นสหพันธ์ประเทศออสเตรีย ลงมติเห็นชอบกำหนดหลักการกาชาด 7ข้อคือสภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดงซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศครั้งท่20ปีพ.ศ.2508 ณ กรุงเวียนนา



สมาชิกยุวกาชาดแบ่งเป็น4ระดับ
เตรียมยุวกาชาด ชั้น ป.1-ป.2 ระดับชั้นที่1 ชั้นป.1-ป.4 ระดับชั้นที่2 ชั้น ป.5-ป.6
ระดับชั้นที่3 ชั้นม.1-ม.3 ระดับชั้นที่4ชั้น ม.4-ม.6
การทำความเคารพของสมาชิกยุวกาชาด
สมาชิกยุวกาชาดทำความเคารพด้วยการไหว้เมื่ออยู่นอกแถว สมาชิกยุวกาชาดทำความเคารพด้วยการยืนตรงเมื่ออยู่ในแถว
สัญญาณนกหวีด
-------------------------------- หยุด เตรียม - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - เรียกทั้งหมด
- - - ------ - - ------------------ เรียกหัวหน้าหน่วย ----------- ---------- ------ - เชิญธงชาติ
-- ----- -- ------- -- --------- ฉุกเฉิน
การตั้งสภาอุณาโลมแดง
ในปีพ.ศ.2436(ร.ศ.112) ประเทศไทยเราได้ทำสงครามกับประเทศฝรั่งเศสในเรื่องเขตแดนแม่น้ำโขง ทหารไทยได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ (ราชนิกูล วงศ์ชูโต) จึงได้นำความขึ้นกราบทูลต่อสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขอให้ทรงเป็น "ชนนีผู้บำรุง" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบจึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งสมาคมการกุศล โดยมีนามว่า " สภาอุณาโลมแดง "
งานสำคัญของสภาอุณาโลมแดงสมัยนั้นคือการจัดส่งเครื่องยา อาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ต่างๆไปบำรุงทหารในสนามรบ ในสมัยพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรโรงพยาบาลของสภากาชาดญี่ปุ่น จึงทรงจัดตั้งโรงพยาบาลของสภากาชาดไทยขึ้นบ้าง ได้แก่ "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" สภากาชาดได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สันนิบาตสภากาชาดรับเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2464
การตั้งอนุกาชาดไทย
เริ่มต้นเมื่อ วันที่ 27 มกราคม 2465โดยมีเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็นผู้เริ่มก่อตั้ง พระยาราชานุกูลวิบูลย์ภักดี (รื่น ศยามานนท์) เป็นผู้อำนวยการกองอนุกาชาดเป็นคนแรก ขึ้นกับกรมพลศึกษากระทรวงศึกษาธิการ จากการประชุมกรรมการบริหารกองอนุกาชาดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม2520เปลี่ยนคำว่า" อนุกาชาด " เป็น " ยุวกาชาด "


















ใบความรู้ที่ 2 (ฐานที่ 2)
เงื่อนที่ใช้ในการปฐมพยาบาล

เงื่อนพิรอด (Reef Knot) คือ
- เงื่อนที่ใช้สำหรับต่อเชือกที่มีขนาดเท่า ๆ กัน
- เงื่อนซึ่งแบนราบ ดังนั้น จึงใช้ประโยชน์ในการห่อของหรือผูกผ้าพันแผล
- เงื่อนซึ่งผูกแน่น แต่ง่ายต่อการแก้
- เงื่อนซึ่งมีความดึงแน่นกับเชือกที่มีขนาดเท่ากัน







ประโยชน์
1. ใช้เชือกต่อ ๒ เส้น มีขนาดเท่ากัน และเหนี่ยวเท่ากัน
2. ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัสดุต่างๆ
3. ใช้ผูกเชือกผูกรองเท้า (ผูกเงื่อนพิรอด กระตุกปลาย ๒ ข้าง)
4. ใช้ในการปฐมพยาบาล เช่น ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ ใช้ผูกปลายเชือกกากบาทญี่ปุ่น
5. ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ความยาวตามต้องการในกรณีที่ไม่มีเชือก เช่น ต่อผ้าปูที่นอน ใช้ช่วยคนในยามฉุกเฉินเมื่อเวลาเกิดเพลิงไหม้ และใช้ผ้าพันคอลูกเสือต่อกัน เพื่อช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง และใช้ผูกโบ
ใบความรู้ที่ 3 (ฐานที่ 3)
การพับนกจากกระดาษ
การพับกระดาษ (ORIKAMI)
โอริงามิ (ORIGAMI) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลตรงตัวว่า การพับกระดาษ ได้มีการแปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก ต่อมาจึงแปล เป็นภาษาอื่นๆ อีก แต่ยังคงให้เกียรติเรียกทับศัพท์ว่า ออริกามิ ตามต้นฉบับที่สืบทอดมาจากวัฒนธรรมประเพณีอันเก่าแก่ของญี่ปุ่นในเรื่องการ พับกระดาษ
ทุกวันนี้ชาวญี่ปุ่นมักจะผูกติดของที่ระลึกเล็กๆ ซึ่งพับจากกระดาษ เรียกว่า โนชิ ไปกับห่อของขวัญด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่าประเพณีการพับกระดาษนี้ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน การพับกระดาษเป็นของเล่นได้แพร่จากญี่ปุ่นสู่ยุโรปเมื่อประมาณ ค.ศ.1880 (พ.ศ.2423) โดยนักแสดงมายากลบนเวที และนักศึกษา ชาวญี่ปุ่นก็มีส่วนเผยแพร่วิธีพับนกกระเรียนกางปีก
การพับนกกระเรียน

จุดกำเนิดโทรทัศน์ขาวดำ

จุดกำเนิดโทรทัศน์ขาวดำ

โทรทัศน์เปรียบเสมือนเฟอร์นิเจอร์ที่แพร่หลายอยู่ในทุกครัวเรือน ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น สื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อประชาชนในหลายๆด้าน รวมทั้งการตัดสินใจทางด้านการเมือง เหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดและเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก คือการถ่ายทอดรายการโต้วาทีหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1960 ระหว่าง Richard M. Nixon และ John F. Kennedy กล่าวกันว่า สาเหตุที่ประธานาธิบดี Kennedy ชนะการเลือกตั้ง มีสาเหตุมาจากการที่ประชาชนได้เห็นบุคลิกภาพหน้าตาของเขาบนจอโทรทัศน์นั่นเอง
กล่าวกันว่า Paul Nipkow เป็นผู้ผลิตคิดค้นระบบโทรทัศน์ขึ้นในปี ค.ศ. 1884 ประกอบด้วยแผ่นจานที่มีช่องตรงกลาง ซึ่งเป็นจุดเริ่มตันที่มีวิศวกรนักประดิษฐ์หลายคนถือเอาเป็นแม่แบบในการพัฒนาในเวลาต่อมา เช่น John Logie Baird และ Charles Francis Jenkins ที่ได้สร้างโทรทัศน์ระบบที่ไม่ใช้หลอดภาพหรือ Cathode Ray Tubes: CRTs ขึ้นในปี ค.ศ. 1928

ในยุคนั้น ระบบโทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์ยังล้าหลังระบบเครื่องกลอยู่มาก สาเหตุเนื่องจากโทรทัศน์แบบเครื่องกลเดิมมีราคาถูกมาก และไม่ได้ประกอบด้วยชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ซับซ้อนมาก ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นเรื่องยากที่จะหาผู้สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ผลิตในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่โทรทัศน์ระบบเดิมก็ทำงานได้ดีอยู่แล้ว ในที่สุด Vladimir Kosmo Zworykin and Philo T. Farnsworth ก็ได้สร้างประดิษฐกรรมใหม่ขึ้นมา โทรทัศน์ระบบอิเล็กทรอ นิกส์จึง รับความนิยมมากขึ้น

Vladimir Zworykin ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก David Sarnoff ซึ่งเป็นรองประธานของบริษัท RCA ซึ่งมองเห็นช่องทางทำธุรกิจจากผลิตภัณฑ์โทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์ ต่อมา Philo Farnsworth ก็หาผู้สนับสนุนและลงทุนได้เช่นกัน บุคคลทั้งสองจึงกลับกลายมาเป็นคู่แข่งในความพยายามนำโทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์ออกสู่สาธารณชน ทั้งคู่ต่างก็พยายามหาหนทางที่จะผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ราคาถูก ภายในปี ค.ศ. 1935 ทั้งสองสามารถส่งสัญญาณภาพด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน

อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้น มีคนจำนวนไม่มากนักที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ และภาพที่ได้รับก็เป็นภาพเบลอร์ๆบนจอขนาด 2 X 3 นิ้ว อนาคตของโทรทัศน์ในขณะนั้นยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก แต่การแข่งขันเพื่อให้ตนเองได้เป็นผู้นำในด้านการผลิตดูจะร้อนแรงขึ้นทุกขณะ
ในปี ค.ศ. 1939 RCA และ Zworykin ได้เตรียมตัวพร้อมในการจัดทำรายการ และเริ่มเปิดตัวโดยถ่ายทอดรายการ World's Fair ใ นรัฐนิวยอร์ค การพัฒนาดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1941 คณะกรรมการมาตรฐานโทรทัศน์แห่งชาติ (National Television Standards Committee: NTSC) ตัดสินใจว่าถึงเวลาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องกำหนดแนวทางที่เป็นมาตรฐานสำหรับการส่งโทรทัศน์ของประเทศ หลังจากนั้นเพียง 5 เดือน สถานีโทรทัศน์ในประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมดจำนวน 22 แห่ง ก็หันมาใช้มาตรฐานอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ของ NTSC
ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (ร าวๆ ค.ศ. 1930-1931) เครื่องรับโทรทัศน์มีราคาสูงสำหรับประชาชนทั่วไป ต่อมาเมื่อราราเครื่องลดลง ประเทศสหรัฐก็ตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 อีก ภายหลังสงครามเป็นยุคที่เศณษฐกิจเริ่มเรืองรอง จึงถือว่าเป็นยุคทองของโทรทัศน์ แต่น่าเสียดายที่ยุคนั้นเป็นเพียงยุคโทรทัศน์ขาวดำ
ที่มา : http://www.pbs.org/opb/crashcourse/tv_grows_up/mechanicaltv.html


ยุคโทรทัศน์สี
อันที่จริงนั้น CBS ได้พัฒนาระบบโทรทัศน์สีบมาเป็นเวลานานก่อน RCA แต่ไม่สามารถทำให้เข้ากับระบบโทรทัศน์ขาวดำที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศในขณะนั้นได้ RCA ได้รับแรงกระตุ้นจากผลงานของ CBS ในที่สุดก็สามารถผลิตระบบโทรทัศน์สีที่สามารถเปิดชมผ่านจอขาวดำได้ หลังจากที่ RCA สาธิตระบบของตนแล้ว คณะกรรมการมาตรฐานโทรทัศน์แห่งชาติ (National Television Standards Committee: NTSC) ก็ได้ยอมรับไว้ในฐานะเป็นการดำเนินการแบบธุรกิจ (Commercial Broadcasting) ในปี ค.ศ. 1953
กว่า 40 ปีต่อมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เรามีโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ
ดิจิตัล มีการใช้อินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายระดับโลก แต่พัฒนาการด้านโทรทัศน์ดูเหมือนจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แม้จะมีระบบเสียงสเตริโอ มีเครื่องรับที่ดีขึ้น มีการเพิ่มคำบรรยายในจอภาพ แต่ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ปรากฏชัด จนกระทั่งถึงการเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิตัล
ที่มา: http://www.pbs.org/opb/crashcourse/tv_grows_up/mechanicaltv.html

ยุคโทรทัศน์ดิจิตัล
ข้อแตกต่างระหว่างการชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์และการชมรายการโทรทัศน์ที่เห็นได้ชัดก็คือจอโทรทัศน์ไม่สามารถถ่ายทอดภาพได้ครบถ้วนเท่ากับจอภาพยนตร์ สัดส่วนของจอโทรทัศน์ในปัจจุบันถูกพัฒนาโดย W.K.L. Dickson in ใน ค.ศ. 1889 ขณะที่เขากำลังทำงานอยู่ในห้องทดลองของ Thomas Edison
Dickson ทำการทดลองเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่เรียกกันว่า Kinescope และได้สร้างฟิล์มขนาด 1” X 3/4” ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานฟิล์มภาพยนตร์ในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1941 คณะกรรมการมาตรฐานโทรทัศน์แห่งชาติ (National Television Standards Committee: NTSC) ได้เสนอมาตรฐานเพื่อการส่งโทรทัศน์ จึงได้รับเอามาตราส่วนเดียวกับขนาดจอภาพยนตร์ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา
ในปี ค.ศ. 1950 Hollywood ต้องการให้สาธารณชนสนใจดูภาพยนตร์กันมากขึ้นแทนที่จะเอาแต่นั่งดูรายการโทรทัศน์อยู่กับบ้าน จึงหากลยุทธ์ต่างๆมาดึงดูดความสนใจของผู้ชม ในที่สุด วิธีการที่ได้ผลตราบเท่าทุกวันนี้ คือการนำเสนอภาพจอกว้าง เช่น Cinerama, Cinemascope, และ Vista vision เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเสมือนอยู่ในสถานการณ์จริง เนื่องจากตาของเราให้มุมมองที่กว้างกว่า การชมภาพยนตร์จึงให้ความรู้สึกที่ดีกว่าการชมโทรทัศน์ กลยุทธ์นี้จึงใช้ได้ผล และก็เป็นการดีที่ HDTV (High Definition Television) ก็นำมาเป็นข้อดีด้วย
HDTV มีคุณสมบัติเสมือนจอภาพยนตร์ ซึ่งจะทำให้ภาพที่นำเสนอออกมามีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริง หลังจากที่มีการทดลองกันนานนับทศวรรษ ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า HDTV จะใช้มาตราส่วนของจอภาพเท่ากับจอภาพยนตร์ คือ 16 : 9 อย่างไรก็ตาม เรื่องขนาดของจอภาพนั้นเป็นเพียงประเด็นเดียว นอกจากนั้น HDTV จะให้ภาพที่คมชัดและมีความละเอียดกว่าระบบ NTSC ขนาดของ pixel บนจอ HDTV จะเล็กเป็น 4.5 เท่า ของขนาด pixel บนจอ NTSC ซึ่งหมายถึงความละเอียดของภาพนั่นเอง โทรทัศน์ในระบบ NTSC ทั่วไปสามารถแสดงภาพได้ขนาด 720 X 486 pixels ซึ่งมีความละเอียดน้อยกว่าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งมักมีขนาด 800 X 600 pixels เป็นอย่างน้อย แต่ HDTV สามารถที่จะให้ภาพที่มีความละเอียดได้ถึง 1920 X 1080 pixels หรือมากกว่า 6 เท่าของระบบ NTSC ทีเดียว

Standards Comparison Table
NTSC HDTV (ATSC)
total lines 525 1125
Active lines 486
1080

sound 2 channels (stereo) 5.1 channels (surround)
aspect ratio 4 x 3 16 x 9
max resolution 720 x 486 1920 x 1080

แม้ว่าภาพดิจิตัลจะมีคุณภาพดีกว่าภาพระบบอะนาล็อก แต่HDTV ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นดิจิตัลเสมอไป HDTV ของประเทศญี่ปุ่นยังออกอากาศเป็นระบบอะนาล็อก แต่ก็มีเหตุผลอื่นๆที่ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกที่จะยอมเปลี่ยนระบบโทรทัศน์จากอะนาล็อกเป็นดิจิตัล

ที่มา: http://www.pbs.org/opb/crashcourse/aspect_ratio
http://www.geocities.com/telethailand/techno_summary.htm


วิวัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศต่างๆ
พ.ต.ท. หญิง ดร. ศิริวรรณ อนันต์โท

ในทวีปยุโรป โทรทัศน์เพื่อการศึกษาเริ่มต้นที่ BBC (British Broadcasting Corporation) ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 พอถึงปี 1958 ประเทศอิตาลีก็ริเริ่มบ้างโดยมีการจัดการสอนตรงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ เรียกว่า Telescuola (Television School of the Air) ส่วนประเทศในเครือคอมมิวนิสต์ได้มีโอกาสรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรกในปี 1960 นำโดยประเทศยูโกสลาเวีย ตามติดด้วยประเทศโปแลนด์ สำหรับประเทศโซเวียตนั้น ได้เริ่มออกอากาศรายการทั่วไปและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเมื่อปี 1962 ภายในปี 1965 ประเทศอื่นๆในยุโรปตะวันออกก็ได้ทำการออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาโดยผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย
ปี 1962 ประเทศจีนคอมมิวนิสต์เริ่มทำการสอนในวิชาต่างๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ ในระดับมหาวิทยาลัย โดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้ นอกจากนั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์อื่นๆ เช่น ในปักกิ่ง เทียนสิน และกวางตุ้ง ต่างก็เผยแพร่รายการมหาวิทยาลัยทางโทรทัศน์ (Television Universities) เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในระดับชาติเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชน
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในโลกที่มีที่มีการบูรณาการการใช้วิทยุโทรทัศน์เข้ากับโครงสร้างของการศึกษา นับตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และยังรวมถึงการให้การศึกษาผู้ใหญ่ในสาขาวิชาต่างๆอย่างกว้างขวางด้วย ก่อนสิ้นปี 1965 ประเทศญี่ปุ่นมีสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาออกอากาศทั่วประเทศเป็นจำนวนถึง 64 สถานี
ประเทศในอเมริกาใต้ เริ่มดำเนินการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1950 นำโดยประเทศโคลอมเบีย ซึ่งทำการออกอากาศวิชาต่างๆในระดับประถมศึกษาอย่างเต็มรูปแบบระหว่างชั่วโมงเรียนปกติโดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ต่อมาประเทศโคลอมเบียได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครเพื่อสันติภาพจากประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเป็นผลให้ประเทศโคลอมเบียกลายเป็นแบบอย่างของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในเวลาต่อมา
แม้ว่าการเติบโตของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะเกิดขึ้นทั่วโลกก็ตาม การพัฒนาที่เด่นชัดที่สุดเห็นจะได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพียงแค่ช่วงเวลาระหว่างเดือนพฤษภาคม 1953 ถึง เดือนพฤษภาคม 1967 ประเทศสหรัฐอเมริกามีสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาทั่วประเทศเป็นจำนวนถึง 140 สถานี ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร 140 ล้านคนในขณะนั้น มีการคาดคะเนว่ารายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสามารถเข้าถึงโรงเรียนได้ไม่ต่ำกว่าสองพันโรงและเข้าถึงนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ได้ไม่ต่ำกว่า 15 ล้านคนทีเดียว
นับตั้งแต่ปี 1963 คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ (Federal Communications Commission) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับคำร้อง 64 ราย สำหรับการขอดำเนินการสอนทางวิทยุโทรทัศน์จำนวน 197 ช่องในระบบที่เรียกกันว่า Instructional Television Fixed Service (ITFS) ในที่สุดแล้ว ก็ปรากฏว่ามีการดำเนินการสอนแบบโทรทัศน์วงจรปิดในสถานศึกษาของรัฐ เอกชน และบริษัทต่างๆ อย่างแพร่หลายทั่วประเทศ
วิทยุโทรทัศน์ได้ถูกมองว่าเป็นบริการที่สองรองจากวิทยุกระจายเสียงในการเผยแพร่รายการทางวัฒนธรรม ข่าวสาร และการศึกษา การทดลองครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัย Iowa ในช่วงระหว่างปี 1932 และ 1939 มีการผลิตรายการรายการในวิชาต่างๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ศิลปะ การละคร และชวเลข เป็นต้น มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา 5 แห่งที่ถูกจัดว่าเป็นผู้บุกเบิกในวงการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของประเทศ ได้แก่ Iowa University (Iowa City), Iowa State University (Ames), Kansas State University, University of Michigan และ American University


เอกสารอ้างอิง
Wilson, P. Dizard. (1966). Television: A World View . New York: Syracuse University Press.
Koening, A, E. & Hill, R, B. (1969). The Farther Vision: Educational Television Today . The University of Wisconsin Press.
















บทบาทของ ของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ในโลกของสื่อยุคใหม่
พ.ต.ท. หญิง ดร. ศิริวรรณ อนันต์โท


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นจากนักวิชาการในประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับการทบทวนบทบาทของโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
ในประเทศอังกฤษนั้น BBC หรือ British Broadcasting Corporation ได้มีบทบาทอันยาวนานในการใช้วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา การส่งวิทยุกระจายเสียงไปยังโรงเรียนได้เริ่มขึ้นในปี 1920 ( พ . ศ . 2463) และเมื่อมหาวิทยาลัยเปิดแห่งประเทศอังกฤษ (British Open University) ได้เริ่มดำเนินการขึ้นในปี 1969 ( พ . ศ . 2512) BBC จึงได้เข้ามาเป็นพันธมิตรที่สำคัญในการก่อตั้งระบบการศึกษาทางไกล ปัจจุบันนี้ การออกอากาศรายการเพื่อการศึกษาของ BBC จะกระทำในช่วงที่เรียกว่า “learning zone” หรือช่วงหลังเที่ยงคืน จนกระทั่งรุ่งเช้า และยังมีรายการจำนวนมากที่ถูกผลิตและเผยแพร่ทางวิดีโอเทป ค่าใช้จ่ายในการผลิตและเผยแพร่รายการวิทยุโทรทัศน์ของมหาวิทยาลัยเปิด หรือ OU (Open University) ในประเทศอังกฤษทุกวันนี้ คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของมหาวิทยาลัย คือประมาณ 12 ล้านปอนด์จากงบประมาณประจำปี 120 ล้านปอนด์ อย่างไรก็ตามการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์เป็นการลงทุนที่สูงกว่าการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ ดังนั้นการศึกษาทางไกลส่วนใหญ่จาก OU จึงเน้นการใช้ตำรามากกว่า
ความเปลี่ยนแปลงในวงการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในยุโรป
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีมีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบการศึกษาทางไกล ในทวีปยุโรป บริษัท EUROSTEP และ EuroPACE ได้เริ่มนำระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมมาใช้ส่งสัญญาณโทรทัศน์เพื่อการศึกษา การเผยแพร่ความรู้ไปยังผู้เรียนจึงทำได้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม แม้ว่าการให้บริการดาวเทียมของสองบริษัทนี้จะให้ผลในการสร้างสรรค์สติปัญญา แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับผลสำเร็จในทางธุรกิจ เนื่องจากนักคิดหลายคนในยุโรปเห็นว่าการใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลนั้นเป็นความล้มเหลว โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังต่อไปนี้ :
โทรทัศน์เพื่อการศึกษาเอาชนะอุปสรรคเรื่องสถานที่ได้ แต่ไม่สามารถเอาชนะอุปสรรคเรื่องเวลา ( หมายถึงผู้เรียนสามารถเรียนได้จากสถานที่ต่างๆ แต่ต้องมีการนัดหมายเวลาที่แน่นอน ) อย่างไรก็ตาม อุปสรรคข้อนี้สามารถขจัดได้โดยการอัดรายการศึกษาไว้ในรูปแบบของวิดีโอเทป และ CD-ROM ซึ่งผู้เรียนจะไม่พลาดโอกาสในการติดตามชมรายการ
โทรทัศน์เพื่อการศึกษามีข้อจำกัดเรื่องคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการขยาย ช่องทางการออกอากาศ แต่เทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ช่วยแก้ปัญหาได้ ในยุโรปขณะนี้นั้นมีดาวเทียมที่ใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาไม่มากนักจากจำนวนโทรทัศน์กว่า 250 ช่องที่มีอยู่ นอกจากนั้น หลายๆประเทศในยุโรปก็รับข่าวสารทางเคเบิลทีวีกันอย่างแพร่หลาย ที่สำคัญที่สุดคือเทคโนโลยีระบบดิจิตัลมีความสามารถบีบอัดสัญญาณและทำให้มีช่องโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษในปี 1997 ( พ . ศ . 2540) มีการใช้ระบบดิจิตัลขยายช่องอนาล็อกจำนวน 4 ช่อง เป็น 18 ช่องด้วยระบบดิจิตัล ปัญหาเรื่องการขาดแคลนคลื่นความถี่จึงไม่น่ากังวล
การผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษามีค่าใช้จ่ายสูง แม้จะมีผู้กล่าวว่าการคำนวณ ค่าใช่จ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์น่าจะคิดจากค่าเฉลี่ยของผู้ชม แต่รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาคงยากที่จะได้รับความนิยมจากผู้ชมมากเท่ารายการบันเทิง ดังนั้นค่าผลิตก็ยังนับว่าสูงมากอยู่ดี อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีระบบดิจิตัลเข้ามาช่วยในการผลิต จะทำให้ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการผลิตลงได้มากขึ้น
โทรทัศน์เพื่อการศึกษามีรูปแบบการนำเสนอที่ตรงไปตรงมาเกินไป และไม่มีลักษณะการโต้ตอบกันได้ทันท่วงที (Interactivity) ระหว่างผู้สอนและผู้ชม จึงทำให้รายการน่าเบื่อ แต่มีผู้เรียนบางคนให้ความเห็นว่า Interactivity หรือปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้ส่งผลดีต่อการเรียนเสมอไป เพราะบางวิชาอาจไม่จำเป็นต้องมีการโต้ตอบกันสดๆ หรือบางครั้งการโต้ตอบกันอาจเป็นการขัดจังหวะการเรียนของผู้เรียนอื่นๆโดยไม่สมควร ดังนั้นจึงควรกำหนดเวลาและสถานที่เฉพาะไว้สำหรับ Interactivity หรือการซักถามโต้ตอบระหว่างผู้เรียนและผู้สอนให้เหมาะสม นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาของ Sir John Daniel อดีตรองอธิการบดีแห่ง British Open University ที่ยืนยันว่าค่าใช้จ่ายในการใช้ระบบ Interactivity นั้น ( อาจเป็นการใช้ โทรศัพท์ โทรสาร หรือ E-mail) จะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของจำนวนผู้เรียน ซึ่งมากกว่าการเรียนทางไกลแบบอิสระ (Independent activity) มาก ดังนั้นผู้บริหารจึงควรคำนึงถึงปัจจัยนี้ด้วย
บทสรุป
จากบทความข้างต้นนั้น คงจะเห็นได้ว่าข้อจำกัดในด้านต่างๆของโทรทัศน์เพื่อกาศึกษานั้น สามารถขจัดให้หมดไป หรือแก้ไขให้ดีขึ้นได้ นอกจากนั้นยังสามารถปรับเปลี่ยนบทบาทให้เหมาะสมกับระบบการส่งและเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบใหม่ ตลอดจนระบบการศึกษาใหม่ได้ๆอย่างดีอีกด้วย ดังนั้น เชื่อได้ว่าโทรทัศน์เพื่อการศึกษา จะยังคงมีอนาคตที่สดใสในระบบการศึกษาทางไกลอย่างแน่นอน
( ที่มา : http://www.shu.ac.uk/virtual_campus/ligis/10/future1.htm)



ประวัติโทรทัศน์เพื่อการศึกษา(ETV)
กระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มจัดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ในปัจจุบัน) และทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และหน่วยงานที่ได้ดำเนินการผลิตพัฒนา และเผยแพร่รายการโทรทัศน์ เพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง คือ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้จัดผลิตรายการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม อาชีพ ฯลฯ สำหรับนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

ในปี พ.ศ.2527
กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติให้ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาจัดตั้งศูนย์ผลิตรายการวิดีโอเทปขึ้น เพื่อให้ผลิตรายการโทรทัศน์ และวิดีโอเทปเพื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั้งใน และนอกโรงเรียน รวมทั้งให้บริการ ด้านการผลิตรายการ แก่หน่วยงานต่างๆ ภายในกระทรวงศึกษาธิการด้วย

พ.ศ. 2529
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ได้รับมอบหมายจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นผู้ประสานงานจัดทำร่างแผนแม่บท โครงการพัฒนาโทรทัศน์ และวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา (ศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์ และวิดีโอเทปที่รังสิต)

พ.ศ.2530
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ภายในกระทรวงศึกษาธิการ จัดและผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ แห่งประเทศไทยช่อง 11

พ.ศ.2537
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการทดลองจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อเป็นการขยายโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับมาตรฐานการศึกษา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2537 โดยให้เป็นโครงการทดลองในระยะ 5 ปี (8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 7 มิถุนายน 2542) และเริ่มทดลองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2537 โดยใช้ชื่อสถานีว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (ETV)" แพร่ภาพด้วยสัญญาณ ในระบบดิจิตอลในย่านความถี่ Ku-Band และได้มอบหมายให้ สำนักงาน กศน. รับผิดชอบสถานีนี้ และดำเนินงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ความสำคัญของภาพกับการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

ความสำคัญของภาพกับการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
องค์ประกอบของภาพ(Composition)
1.กฎสามส่วน ก่อนที่จะถ่ายภาพครั้งใดควรประมาณการแบ่งภาพภายในกรอบสี่เหลี่ยมนี้ ออกเป็นสามส่วนทั้งแนวตั้งและแนวนอน เน้นสัดส่วนของสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้มีมากกว่าส่วนอื่น เช่น ท้องฟ้า น้ำและภูเขา หากต้องการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับท้องฟ้าก็ควรเน้นให้มีท้องฟ้าสองส่วน เหลือภูเขาไว้เพียงส่วนเดียวก็พอ

2.เส้นนำสายตา เป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่สื่อความหมายอีกแบบหนึ่ง เพื่อนำสายตา ไปสู่จุดหมายที่ต้องการ

3.รูปสามเหลี่ยม

4.เส้นรัศมี เป็นภาพที่มีพลังเกิดมาจากจุดศูนย์กลาง

5.ฉากหน้าหรือโฟร์กราวด์ (Froeground) คือการถ่ายภาพวัตถุที่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวไม่ได้ ภาพจึงดูแข็งๆเป็นภาพที่เรียกว่าภาพตาย เพื่อให้ภาพดูนุ่มนวลสบายตา ต้องหาใบไม้กิ่งไม้มาวางไว้เป็นฉากหน้า แล้วปรับให้ภาพเบลอ (Blur) ให้ชัดเฉพาะที่ฉากหลัง ก็จะทำให้ภาพดูแล้วนิ่มนวลสบายตา

พื้นฐานการตัดต่อรายการโทรทัศน์

พื้นฐานการตัดต่อรายการโทรทัศน์
การผลิตรายการโทรทัศน์นั้นแบ่งได้เป็นสามขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ (Pre-Production)
2. ขั้นผลิตรายการ (Production)
3. ขั้นตัดต่อและร้อยเรียงรายการ (Post - Production)
• การตัดต่อเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่มีความสำคัญไม่ต่างจากขั้นตอนอื่นๆ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานเพื่อใช้เป็นแนวทาง และมีหลักในการตัดต่อรายการดังนี้
• อักษรในภาษาอังกฤษ คำว่า *EDIT
• ทั้งสี่ตัวคือ E,D,I และ T นั้น ล้วนมีความหมายเกี่ยวกับการตัดต่อรายการทั้งสิ้น
ความหมายแต่ละตัวอักษร
• E=Elect แปลว่า เลือก หรือคัดเลือก หมายถึงการคัดเลือก Shot ที่ดีทีสุดจากม้วนที่ถ่ายทำมา ซึ่งการออกไปถ่ายทำนั้น จะถ่ายภาพเผื่อเลือกไว้แล้ว จึงต้องนำมาคัดเลือกเฉพาะ Shot ที่มีความถูกต้อง และมีคุณภาพที่ดีสุด
• D=Decision แปลว่า การตัดสินใจ หมายถึงเมื่อคัดเลือกแล้วต้องตัดสินใจ อย่ามัวเสียดาย Shot นั้นก็สวย Shot นี้ก็น่าใช้ ถ้ามัวแต่ลังเลงานอาจไม่เสร็จทันกันตามกำหนด และบางครั้งจึงต้องใส่ภาพตามความอยากมากกว่าตามความหมายที่ต้องการจะสื่อ
• I=Integrate แปลว่า การนำมารวมกันหรือ บูรณาการ เป็นการนำ Shot ต่างๆ ที่คัดเลือกไว้มาร้อยเรียงลำดับขั้นตอนให้เชื่อมโยงผสมผสาน ทั้งด้านเทคนิคด้านความถูกต้องของเนื้อหาเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีศิลปะ
• T=Terminate แปลว่า การทำให้สิ้นสุด หรือ จุดหมายปลายทาง หมายถึงต้องจบลงด้วยดีมีคุณภาพตรงตามวัตถุประสงค์


ลักษณะการตัดต่อ 3 รูปแบบ ดังนี้
1.การตัดชนภาพ The Cut คือ การตัดภาพชนกันจากช็อตหนึ่งต่อตรงเข้ากับอีกช็อตหนึ่ง วิธีนี้คนดูจะไม่ทันสังเกตเห็น
2.การผสมภาพ The Mix หรือ The Dissolve เป็นการค่อย ๆ เปลี่ยนภาพจากช็อตหนึ่งไปยังอีกช็อตหนึ่ง โดยภาพจะเหลื่อมกัน และคนดูสามารถมองเห็นได้
3.การเลือนภาพ The Fade เป็นการเชื่อมภาพที่คนดูสามารถเห็นได้ มี 2 แบบ คือ การเลือนภาพเข้า fade in คือการเริ่มภาพจากดำแล้วค่อย ๆ ปรากฏภาพซ้อนสว่างขึ้น มักใช้สำหรับการเปิดเรื่อง การเลือนภาพออก fade out คือการที่ภาพในท้ายช็อตค่อย ๆ มืดดำสนิท มักใช้สำหรับการปิดเรื่องตอนจบ
ในการตัดต่อ ควรคำนึงถึงความรู้เบื้องต้น 6 ประการดังนี้
1.แรงจูงใจ Motivation ในการตัดต่อ ไม่ว่าจะการ cut, mix หรือ fade ควรมีเหตุผลที่ดีหรือมีแรงจูงใจเสมอ ซึ่งแรงจูงใจนี้อาจเป็นภาพ เสียง หรือทั้งสองอย่างผสมกันก็ได้ ในส่วนของภาพอาจเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้นักแสดงจะแสดงเพียงเล็กน้อย เช่น การขยับร่างกายหรือขยับส่วนของหน้าตา สำหรับเสียงอาจเป็นเสียงใดเสียงหนึ่ง เช่น เสียงเคาะประตู หรือเสียงโทรศัพท์ดัง หรืออาจเป็นเสียงที่ไม่ปรากฏภาพในฉาก (off scene)
2.ข้อมูล Information ข้อมูลในที่นี้คือข้อมูลที่เป็นภาพ ช็อตใหม่ หมายถึงข้อมูลใหม่ คือถ้าไม่มีข้อมูลอะไรใหม่ในช็อตนั้น ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาตัดต่อ ไม่ว่าภาพจะมีความงดงามเพียงไร ก็ควรที่จะเป็นข้อมูลภาพที่แตกต่างจากช็อตที่แล้ว ยิ่งมีข้อมูลภาพที่คนดูเห็นและเข้าใจมากขึ้น ผู้ชมก็ยิ่งได้รับข้อมูลและมีอารมณ์ร่วมมากขึ้น
เป็นหน้าที่ของคนตัดที่จะนำข้อมูลภาพมาร้อยให้มากที่สุดโดยไม่เป็นการยัดเยียดให้คนดู







3.องค์ประกอบภาพในช็อต Shot Composition ผู้ตัดไม่สามารถกำหนดองค์ประกอบภาพในช็อตได้ แต่งานของผู้ตัดคือควรให้มีองค์ประกอบภาพในช็อตที่สมเหตุสมผลและเป็นที่ยอมรับปรากฏอยู่ องค์ประกอบภาพ
ในช็อตที่ไม่ดีมาจากการถ่ายทำที่แย่ ซึ่งทำให้การตัดต่อทำได้ลำบากมากขึ้น
4.เสียง Sound เสียงคือส่วนสำคัญในการตัดต่ออีกประการหนึ่ง เสียงรวดเร็วและลึกล้ำกว่าภาพ เสียงสามารถใส่มาก่อนภาพหรือมาทีหลังภาพเพื่อสร้างบรรยากาศ สร้างความกดดันอันรุนแรง และอีกหลากหลายอารมณ์ เสียงเป็นการเตรียมให้ผู้ชมเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนฉาก สถานที่ หรือแม้แต่ประวัติศาสตร์
ความคลาดเคลื่อนของเสียงที่เหมาะสมเป็นการลดคุณค่าของการตัดต่อ เช่น LS ของสำนักงาน ได้ยินเสียงจากพวกเครื่องพิมพ์ดีด ตัดไปที่ช็อตภาพใกล้ของพนักงานพิมพ์ดีด เสียงไม่เหมือนกับที่เพิ่งได้ยินในช็อตปูพื้น คือ เครื่องอื่น ๆ หยุดพิมพ์ทันทีเมื่อตัดมาเป็นช็อตใกล้ ความสนใจของผู้ชมสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยเสียงที่มาล่วงหน้า (lapping) ตัวอย่างเช่น การตัดเสียง 4 เฟรมล่วงหน้าก่อนภาพ เมื่อตัดจากภาพในอาคารมายังภาพฉากนอกอาคาร
5.มุมกล้อง Camera Angle เมื่อผู้กำกับฯ ถ่ายทำฉาก จะทำโดยเริ่มจากตำแหน่งต่าง ๆ (มุมกล้อง) และจากตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้กำกับฯ จะให้ถ่ายช็อตหลาย ๆ ช็อต คำว่า “มุม” ถูกใช้เพื่ออธิบายตำแหน่งของกล้องเหล่านี้ซึ่งสัมพันกับวัตถุหรือบุคคลหัวใจสำคัญคือแต่ละครั้งที่ cut หรือ mix จาก shot หนึ่งไปอีกช็อตหนึ่ง กล้องควรมีมุมที่แตกต่างไปจากช็อตก่อนหน้านี้ สำหรับคนตัด ความแตกต่างระหว่างแกน ไม่ควรมากกว่า 180 องศา และมักจะน้อยกว่า 45 องศา เมื่อถ่ายบุคคลเดียวกัน ด้วยประสบการณ์รูปแบบนี้อาจดัดแปลงได้อีกมาก
6.ความต่อเนื่อง Continuity ทุกครั้งที่ถ่ายทำในมุมกล้องใหม่ (ในซีเควนส์เดียวกัน) นักแสดงหรือคนนำเสนอจะต้องแสดงการเคลื่อนไหวหรือทำท่าเหมือนเดิมทุกประการกับช็อตที่แล้ววิธีการนี้ ยังปรับใช้กับ take ที่แปลกออกไปด้วย
ความต่อเนื่องของเนื้อหา Continuity of content ควรมีความต่อเนื่องของเนื้อหา เช่น นักแสดงยกหูโทรศัพท์ด้วยมือขวาในช็อตแรก ดังนั้นก็คาดเดาได้ว่าหูโทรศัพท์ยังคงอยู่ในมือขวาในช็อตต่อมา งานของคนตัดคือ ทำให้แน่ใจว่าความต่อเนื่องยังคงมีอยู่ทุกครั้งที่ทำการตัดต่อในซีเควนส์ของช็อต
ความต่อเนื่องของการเคลื่อนไหว Continuity of movementความต่อเนื่องยังเกี่ยวข้องกับทิศทางการเคลื่อนไหว หากนักแสดงหรือบุคคลเคลื่อนที่จากขวาไปซ้ายในช็อตแรก ช็อตต่อมาก็คาดเดาว่านักแสดงหรือบุคคลจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน เว้นแต่ในช็อตจะให้เห็นการเปลี่ยนทิศทางจริง ๆ

ความต่อเนื่องของตำแหน่ง Continuity of position ความต่อเนื่องยังคงความสำคัญในเรื่องของตำแหน่งนักแสดงหรือบุคคลในฉาก หากนักแสดงอยู่ทางขวามือของฉากในช็อตแรก ดังนั้นเขาจะต้องอยู่ขวามือในช็อตต่อมาด้วย เว้นแต่มีการเคลื่อนไหวไปมาให้เห็นในฉากถึงจะมีการเปลี่ยนไป

ความต่อเนื่องของเสียง Continuity of sound ความต่อเนื่องของเสียงและสัดส่วนของเสียงเป็นส่วนที่สำคัญมาก ถ้าการกระทำกำลังเกิดขึ้นในที่เดียวกันและเวลาเดียวกัน เสียงจะต้องต่อเนื่องจากช็อตหนึ่งไปยังช็อตต่อไป
เช่น ในช็อตแรกถ้ามีเครื่องบินในท้องฟ้าแล้วได้ยินเสียง ดังนั้นในช็อตต่อมาก็ต้องได้ยินจนกว่าเครื่องบินนั้นจะเคลื่อนห่างออกไป แม้ว่าบางครั้งอาจไม่มีภาพเครื่องบินให้เห็นในช็อตที่สอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่จำเป็นต้องมีเสียงต่อเนื่องในช็อตต่อไป
นอกจากนี้ ช็อตที่อยู่ในฉากเดียวกันและเวลาเดียวกัน จะมีเสียงพื้น(background sound) ที่เหมือนกัน เรียกว่า background ambience, atmosphere หรือเรียกย่อ ๆ ว่า atmos ซึ่งต้องมีความต่อเนื่อง

การตัด (The Cut)
การตัดเป็นวิธีการเชื่อมต่อภาพที่ธรรมดาที่สุดที่ใช้กัน เป็นการเปลี่ยนในพริบตาเดียวจากช็อตหนึ่งไปอีกช็อตหนึ่ง ถ้าหากทำอย่างถูกต้องมันจะไม่เป็นที่สังเกตเห็นในบรรดาวิธีการเชื่อมภาพ 3 แบบ การตัดเป็นสิ่งที่ผู้ชมยอมรับว่าเป็นรูปแบบของภาพที่เป็นจริง
การตัดใช้ในกรณีที่
เป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง
ต้องการเปลี่ยนจุดสนใจ
มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลหรือสถานที่เกิดเหตุ

การตัดที่ดีมาจากความรู้เบื้องต้น 6 ประการ
1.แรงจูงใจ Motivaation
ควรต้องมีเหตุผลในการตัด ยิ่งคนตัดมีทักษะมาก มันก็ยิ่งง่ายที่จะหาหรือสร้างแรงจูงใจสำหรับการตัด เนื่องจากมีพัฒนาการที่มากขึ้น ในการรับรู้ว่าจุดไหนการตัดต่อควรจะเกิดขึ้น จึงกลายเป็นการเข้าใจได้ง่ายกว่า การตัดก่อนเกิดแรงจูงใจหรือการตัดล่วงหน้า (early cut) นั้น ได้ผลอย่างไร การตัดหลังแรงจูงใจ เรียกว่าการตัดช้า (late cut)ความคาดหวังของผู้ชม สามารถมาหลังหรือมาก่อนได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ตัดจะใช้วิธีการตัดล่วงหน้าหรือการตัดช้า
2.ข้อมูล Information ภาพใหม่ควรมีข้อมูลใหม่เสมอ
3.องค์ประกอบภาพ Composition แต่ละช็อตควรจะมีองค์ประกอบภาพหรือกรอบภาพของช็อตที่มีเหตุมีผล
4.เสียง Sound ควรจะมีรูปแบบของเสียงที่ต่อเนื่องหรือพัฒนาการของเสียง
5.มุมกล้อง Camera angle ช็อตใหม่แต่ละช็อต ควรมีมุมกล้องที่แตกต่างจากช็อตเดิม
6.ความต่อเนื่อง Continuity การเคลื่อนไหวหรือการกระทำ ควรจะมีชัดเจนและความเหมือนกันในช็อต 2 ช็อต ที่จะตัดเข้าด้วยกัน
ข้อพิจารณาทั่วไป
เมื่อการตัดกลายเป็นสิ่งที่สังเกตได้หรือสะดุด มันเรียกว่า การตัดกระโดด (Jump Cut) การตัดแบบกระโดดมีบทบาทเป็นเหมือนการพักในการเชื่อมจากช็อตหนึ่งไปยังช็อตต่อไป
หากเป็นมือใหม่ คุณควรพยายามทำแบบตัดแบบต่อเนื่อง (clear cut) เสมอ และถือว่าตัดกระโดดเป็นการตัดที่ไม่น่าพึงพอใจ จนกว่าคุณจะรู้ว่าจะใช้มันอย่างไร
ที่ดีที่สุดแล้ว การตัดแต่ละครั้งควรจะประกอบด้วยความรู้เบื้องต้นทั้ง 6 ส่วน แต่ไม่ต้องทุกครั้งที่ตัด ข้อแนะนำคือพยายามให้มีมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของการตัดต่อผู้ตัดควรรู้จักความรู้เบื้องต้นนี้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นเวลาดูฟุตเทจ ก็ควรจะตรวจสอบด้วยความรู้เบื้องต้น 6 ประการนี้เท่าที่จะทำได้ทุกครั้ง

การผสมภาพ (The Mix)
การผสมรู้จักกันในชื่อของการเลือนภาพ (The Dissolve) การเลือนทับ (The Lap Dissolve) หรือการเกยทับ (The Lap)
นี่เป็นวิธีการเชื่อมจากช็อตหนึ่งไปยังอีกช็อตหนึ่งที่ใช้กันทั่วไปมากเป็นลำดับที่ 2
ทำได้โดยการนำช็อตมาเลือนทับกัน ดังนั้นตอนใกล้จบของช็อตหนึ่งจะเริ่มมีชีวิตต่อไปค่อย ๆ เห็นเด่นขึ้นมา เมื่อช็อตเก่าจางหายไป ช็อตใหม่ก็จะเข้มขึ้น การเชื่อมแบบนี้เห็นได้ชัดมาก จุดกึ่งกลางของการผสมคือเมื่อภาพแต่ละภาพเข้มเท่า ๆ กัน เป็นการสร้างภาพใหม่ การผสมต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมาก การผสมควรใช้อย่างถูกต้อง
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทันเวลา
- เมื่อต้องการให้เวลายืดออกไป
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่
- เมื่อมีความสัมพันธ์ของภาพที่ชัดเจน ระหว่างภาพที่กำลังจะออกและภาพที่กำลังจะเข้า
ความรู้เบื้องต้น 6 ประการในการผสมภาพ
1.แรงจูงใจ Motivation ควรต้องมีเหตุผลในการผสมภาพเสมอ
2.ข้อมูล Information ภาพใหม่ควรมีข้อมูลใหม่เสมอ
3.องค์ประกอบภาพ Composition ช็อต 2 ช็อตที่ผสมเข้าด้วยกัน ควรมีองค์ประกอบภาพที่เกยทับกันได้ง่ายและหลีกเลี่ยงภาพที่จะขัดกัน
4.เสียง Sound เสียงของทั้ง 2 ช็อต ควรจะผสานเข้าด้วยกัน
5.มุมกล้อง Camera angle ช็อตที่ผสมกันควรมีมุมกล้องที่ต่างกัน
6.เวลา Time การผสมภาพ ใช้เวลาอย่างน้อย 1 วินาทีและมากสุด 3 วินาที
ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้การผสมภาพแบบเร็วมากและแบบช้ามาก หรือการผสมภาพ 4 เฟรม สามารถทำได้โดยง่ายหรือสามารถผสมภาพได้นานเท่าความยาวของช็อตเลยทีเดียว หาก mix หรือ dissolve นานไปหรือสั้นไป (20 เฟรมหรือน้อยกว่า) ก็ไม่ดี เพื่อให้การผสมภาพได้ผลควรใช้เวลาอย่างน้อย 1 วินาที หากการผสมภาพยืดออกไป จะยิ่งทำให้คนดูสับสนมากขึ้น


การเลือนภาพ (The Fade)
การเลือนภาพ เป็นการเชื่อมภาพที่ค่อยเป็นค่อยไปจากภาพใดภาพหนึ่งไปยังฉากดำสนิทหรือขาวทั้งหมด หรือจากจอดำหรือขาวไปยังภาพใดภาพหนึ่ง
การเลือน มี 2 ลักษณะ
การเลือนภาพออก (fade out) เป็นการเชื่อมของภาพไปจอดำ
การเลือนภาพออก(fade out)ใช้เมื่อ จบเรื่อง จบตอน ฉาก
มีการเปลี่ยนเวลา
มีการเปลี่ยนสถานที่
การเลือนภาพเข้า (fade in) หรือ เลือนขึ้น (fade up) เป็นการเชื่อมภาพจากจอดำไปยังภาพ
การเลือนภาพเข้า(fade in)ใช้เมื่อ เริ่มต้นเรื่อง เริ่มต้นตอน บท หรือฉาก
มีการเปลี่ยนเวลา
มีการเปลี่ยนสถานที่
การเลือนภาพออกและเลือนภาพเข้ามักจะตัดไปด้วยกันที่สีดำ 100% หายากที่จะ 100% สีขาว ใช้ตอนจบฉากหนึ่งและเริ่มฉากใหม่ ยังใช้เพื่อแยกเวลาและสถานที่ด้วย
ความรู้เบื้องต้น 3 ประการของการเลือนภาพ
การเลือนภาพต้องการ 3 องค์ความรู้จากความรู้เบื้องต้น 6 ประการ ได้แก่
1.แรงจูงใจ Motivation ควรมีเหตุผลที่ดีในการเลือนภาพเสมอ
2.องค์ประกอบภาพ Composition ที่ควรเป็นคือการวางองค์ประกอบของช็อตก็ให้เป็นไปตามลักษณะการเชื่อมภาพไปฉากดำ คือ ค่อย ๆ ดำทั้งภาพ นั่นหมายความว่าไม่ต่างกันมากระหว่างส่วนต่างที่สุดของภาพและส่วนมืดที่สุด
3.ความรู้เรื่องเสียงของภาพ Sound ควรใกล้เคียงกับบางรูปแบบของจุดไคลแม็กหรือตอนจบสำหรับการเลือนภาพออก และตรงข้ามสำหรับเลือนภาพเข้า
ประเภทของการตัดต่อ การตัดต่อมี 5 ประเภท :
ตัดต่อการกระทำ action edit
ตัดต่อตำแหน่งจอ screen position edit
ตัดต่อรูปแบบ form edit
ตัดต่อที่มีเรื่องราว concept edit
ตัดต่อแบบผนวก combined edit
มันสำคัญสำหรับผู้ตัดที่จะต้องจำชนิดทั้งหมดของการตัดต่อและรู้ว่าทำอย่างไร คนตัดต้องสามารถแยกแยะแต่ละความรู้ที่ต้องการใช้ในการตัดต่อ
การตัดต่อการกระทำ The action edit
บางครั้งเรียกการตัดต่อความเคลื่อนไหวหรือตัดต่อความต่อเนื่อง เกือบจะใกล้เคียงการตัดชนภาพ มันสามารถเป็นการให้สัญญาณหรือเคลื่อนไหวที่ง่ายที่สุด เช่น การยกหูโทรศัพท์ การตัดต่อการกระทำ ต้องมีความรู้เบื้องต้น 6 ประการ หรือเกือบครบ 6 ประการ แรงจูงใจ ข้อมูล องค์ประกอบของช็อต เสียง มุมกล้องใหม่ และความต่อเนื่อง
ผู้ชายคนหนึ่งกำลังนั่งอยู่ที่โต๊ะ เสียงโทรศัพท์ดังขึ้น เขายกหูโทรศัพท์ขึ้นแล้วพูดตอบโต้
พิจารณา 2 ช็อต และชี้แจงตามความรู้ 6 ประการ
1.แรงจูงใจ Motivation เมื่อโทรศัพท์ดัง เรารู้ว่าผู้ชายคนนั้นจะหยิบหูโทรศัพท์และพูดตอบโต้ นี้น่าจะเป็นแรงจูงใจที่ดีที่จะทำการตัดต่อ
2.ข้อมูล Information ใน LS เราสามารถเห็นสำนักงาน ผู้ชายคนนั้นนั่งอย่างไรและทำอย่างไร MCU บอกเรามาขึ้นเกี่ยวกับชายคนนั้น ตอนนี้เราสามารถเห็นในรายละเอียดมากขึ้นว่าเขาหน้าตาท่าท่างเป็นอย่างไร สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ปฏิกิริยาของเขาต่อเสียงโทรศัพท์ที่ดังขึ้น ใน MCU เราสามารถเห็นภาษาท่าทางบางอย่าง ดังนั้น MCU บอกข้อมูลแก่เรา
3.องค์ประกอบของช็อต Shot composition องค์ประกอบของช็อตใน LS เป็นการสร้างเรื่องที่มีเหตุมีผล แม้แต่ให้มีต้นไม้เป็นฉากหน้า ซึ่งมันบอกลักษณะความคิดทั่ว ๆ ไปของสำนักงานและผู้ชายถูกเสนออย่างชัดเจนว่ากำลังทำงานอยู่ที่โต๊ะของเขา MCU จะให้ความสมดุลเรื่องช่องว่างบนศีรษะ ถูกต้องดี แม้ว่าคนตัดที่มีประสบการณ์อาจแย้งว่าน่าจะขยับจอไปทางขวาอีก เพื่อยอมให้มีพื้นที่แก่โทรศัพท์เคลื่อนไหวบ้าง แต่ในเรื่ององค์ประกอบของช็อตก็เป็นที่ยอมรับได้
4.เสียง Sound ควรมีเสียงหรือบรรยากาศของฉากหลังเหมือนกันในทั้ง 2 ช็อต ซึ่งบรรยากาศเป็นเสียงการจราจรอันวุ่นวายข้างนอกเบา ๆ หรือเสียงภายในสำนักงาน ควรจะให้เสียงมีความต่อเนื่องทั้ง 2 ช็อต
5.มุมกล้อง Camera angle ใน LS มุมกล้อง อยู่ 45 องศา เกือบจะอยู่ด้านข้าง ใน MCU มุมกล้อง อยู่ตรงหน้าบุคคลโดยตรง มุมกล้องทั้ง 2 มีความแตกต่างกัน
6.ความต่อเนื่อง Continuity จาก LS การเคลื่อนไหวของแขนคนกำลังยกหูโทรศัพท์ ควรต่อเนื่องมายัง MCU คือใช้แขนข้างเดียวกันยกหูโทรศัพท์
หากการตัดต่อมีองค์ประกอบหลักทั้ง 6 ประการนี้ จะมีความเนียน ไม่สะดุด และภาพเรื่องราวก็จะไหลลื่นไปโดยไม่หยุด


การตัดต่อตำแหน่งภาพ The screen position edit
การตัดต่อชนิดนี้ บางครั้งเรียกว่า การตัดต่อทิศทาง a directional edit หรือการตัดต่อสถานที่ a placement edit อาจเป็น การตัดชนภาพ (Cut) หรือการผสม (Mix) แต่มักจะเป็นการตัดชน หากว่าไม่มีการเปลี่ยนของเวลา
การตัดแบบนี้ มักจะมีการวางแผนไว้ตั้งแต่ช่วงก่อนถ่ายทำ หรือช่วงระหว่างการถ่ายทำ ขึ้นอยู่กับการกระทำของช็อตแรกที่บังคับหรือกำกับให้สายตาของคนดูไปยังตำแหน่งใหม่บนจอ
ตัวอย่าง 1 นักเดินทาง 2 คน หยุดเดินเมื่อพวกเขาเห็นและชี้รอยเท้าของคนที่พวกเขากำลังตามหา ทั้ง 2 ช็อตนี้ จะตัดชนภาพเข้าด้วยกัน มุมกล้องต่างกันและมีความต่อเนื่องของเท้าหรือขาที่เคลื่อนไหว มีข้อมูลใหม่ และมีความต่อเนื่องของเสียง มีแรงจูงใจคือ พวกเขากำลังชี้ลงไปอย่างจริงจัง และองค์ประกอบของช็อตก็ใช้ได้ผล
การตัดต่อ ประกอบด้วยความรู้เบื้องต้น 6 ประการ เป็นการตัดที่ได้ผล และภาพของการดำเนินเรื่องไม่ถูกขัดจังหวะ
ตัวอย่าง 2 ผู้หญิงคนหนึ่งกับปืนที่กำลังจ่อออกไปนอกตัว การตัดชนภาพจะได้ผลอีกครั้ง เพราะมีเหตุผลตามที่กล่าวในตัวอย่าง 1
ตัวอย่าง 3 ที่เวทีแห่งหนึ่ง โฆษกรายการกำลังประกาศการแสดงต่อไป “เอาละครับ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ” เขาตะโกน ผายมือไปทางข้างเวที “ขอต้อนรับ...ปอมพิสโต้ผู้ยิ่งใหญ่ !!” อีกครั้งที่ช็อตทั้งสองนำมาตัดต่อเข้าด้วยกัน
มุมกล้องแตกต่างกัน มีข้อมูลใหม่ เรายังไม่เห็น ปอมพิสโต้ผู้ยิ่งใหญ่มาก่อน และเราต้องการรู้ว่าหน้าตาเขาเป็นอย่างไร
เสียงน่าจะเสนอให้ยิ่งเป็นไปได้มากขึ้น การตัดชนทั้งเสียงปรบมือ หรือตอนพูดว่า “ขอต้อนรับ” หรือหลังจากคำพูด ถ้าคุณอยากยืดเวลาเข้าของปอมพิสโต้ผู้ยิ่งใหญ่ มีแรงจูงใจในการตัดชนภาพ ดังนั้นสังเกตได้ว่า ผู้ชมได้รับการบอกกล่าวว่า พวกเขากำลังจะได้พบกับปอมพิสโต้ ดังนั้นก็พบเขากันเลย องค์ประกอบของช็อตก็ได้ผล การตัดต่อตำแหน่งจอ ไม่จำเป็นต้องมีครบองค์ความรู้ทั้ง 6 ประการ อย่างไรก็ตาม ถ้ายิ่งมีมากก็ยิ่งดี

การตัดต่อรูปแบบ The Form Edit
เป็นการอธิบายที่ดีที่สุดของการเชื่อมจากช็อตหนึ่ง ซึ่งมีการแสดงรูป, สี, มิติหรือเสียงไปยังอีกช็อตหนึ่ง ซึ่งมีการแสดงรูปทรง สี มิติ หรือเสียงนี้สัมพันธ์กัน หากมีเสียงเป็นแรงจูงใจ การตัดต่อรูปแบบ สามารถเป็นการตัดชนได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการผสม หลักการนี้เป็นจริงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ และ/หรือบางครั้ง เวลาเปลี่ยน
ตัวอย่าง 1 ในห้องที่ร้อนชื้นของบรรดาฑูต นักหนังสือพิมพ์รอคอยการปล่อยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อที่จะพาพวกเขาให้เป็นอิสระ บนฝ้าเพดานมีพัดลมเพดานหมุน เฮลิคอปเตอร์มาถึง การตัดต่อสามารถทำได้ทั้งตัดชนหรือผสม การผสมภาพจะชี้ถึงความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ในเวลาที่ยิ่งใหญ่ รูปแบบ อาจเป็นการหมุนของพัดลม ซึ่งสัมพันธ์กับรูปแบบการหมุนของใบพัดเฮลิคอปเตอร์ เสียงอาจเกยทับกันเพื่อสร้างความเข้าใจล่วงหน้าหรือทีหลัง
ตัวอย่าง 2 การตัดรูปแบบใช้กันบ่อยในโฆษณา ในที่นี้บุคคลกำลังยืนพิงเลียนแบบตัวสัญลักษณ์บริษัท ปัญหาใหญ่ในการตัดต่อรูปแบบ คือ การตัดอาจดูเหมือนเป็นการประดิษฐ์เกินไป หากใช้บ่อย ๆ รูปแบบการตัดต่ออาจเดาได้
ความงามของการตัดต่อรูปแบบสามารถเห็นได้เมื่อมันถูกทำดี ๆ และเมื่อนำไปรวมกับการตัดต่อชนิดอื่น ๆ จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่โผล่เกินไป
การตัดต่อที่มีเรื่องราว The Concept Edit
บางครั้งเรียกการตัดต่อที่เคลื่อนไหว หรือการตัดต่อความคิด เป็นการเสนอความคิดที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ เพราะว่า 2 ช็อตที่ถูกเลือกและจุดที่ทำการตัดต่อ การตัดต่อเรื่องราวนี้เป็นการปูเรื่องในหัวเรา การตัดต่อที่มีเรื่องราว สามารถครอบคลุมถึงการเปลี่ยนสถานที่ เวลา ผู้คน และบางครั้งก็เป็นตัวเรื่อง มันสามารถทำได้โดยไม่มีการสะดุดของภาพ
ถ้าเป็นการตัดต่อที่มีเรื่องราวที่ดี มันสามารถบอกอารมณ์เป็นอารมณ์ดราม่าและสร้างความลึกซึ้ง แต่ทำยาก ถ้าไม่ได้วางแผนเป็นอย่างดีแล้ว ความไหลลื่นของข้อมูลภาพ อาจชะงักงันไปเลย
การตัดต่อแบบผนวก The combined edit
เป็นการตัดต่อที่ยากที่สุดแต่มีพลังมากที่สุด การตัดแบบผนวกนี้เป็นการรวมการตัดต่อ 2 แบบหรือมากกว่านั้นจากการตัดต่อทั้ง 4 แบบที่กล่าวมา เพื่อให้การตัดแบบผนวกได้ผลดี ผู้ตัดจำเป็นต้องจำทั้งเสียงและภาพที่ใช้ได้ในแต่ละช็อต ดังนั้นการตัดแบบนี้ควรได้รับการวางแผนเป็นอย่างดีทั้งก่อนการถ่ายทำและขณะถ่ายทำ
สรุป
หลักการของการตัดต่อโดยทั่วไป คือ
1. เสียงและภาพนั้นคือส่วนที่เสริมซึ่งกันและกัน
2. ภาพใหม่ควรให้ข้อมูลใหม่
3. ควรมีเหตุผลสำหรับทุกภาพที่ตัด
4. ให้ระวังเรื่อง “การข้ามเส้น”
5. เลือกแบบการตัดที่เหมาะสมกับเรื่อง
6. ยิ่งตัดต่อดี ยิ่งดูลื่นไหล
7. การตัดคือการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
ประเภทของอุปกรณ์การตัดต่อ
ประเภทของอุปกรณ์การตัดต่อจำแนกออกเป็น 2 ชนิด
- ชนิด Linear ตัดต่อโดยใช้เครื่องเล่นและบันทึกวีดิโอเทป
- ชนิด Nonlinear ตัดต่อโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
การตัดต่อเป็นงานขั้นสุดท้ายที่สำคัญมาก แม้การถ่ายทำมาจะดีเพียงใดแต่ถ้าหากตัดต่อไม่ดีรายการก็จะขาดความสมบูรณ์ ไม่น่าสนใจ ขั้นตอนนี้จึงต้องพิถีพิถันทั้งด้านเทคนิคและศิลปะ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนการทำงานดังนี้


ตัดต่อแบบ(วิธี) Offline
เป็นการตัดต่อที่ยังไม่ต้องเน้นเทคนิคและคุณภาพ ตัดเพื่อดูความต่อเนื่อง ความยาวในแต่ละShot ให้ตรงกับเนื้อหาตามบทเท่านั้น มีอุปกรณ์ให้เลือกใช้ได้ สองแบบคือ
1) อุปกรณ์แบบ Non-linear เป็นการตัดต่อด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยถ่ายสัญญาณ
ข้อมูลภาพ และเสียงลงไว้ในหน่วยความจำ (Hard disk) แล้วบีบอัดข้อมูล (Compress )ไม่ต้องละเอียดมากนักเพื่อให้สามารถบรรจุข้อมูลได้ปริมาณมากๆ จากนั้นจึงตัดต่อเลือกShot โดยมีรายละเอียด Time code (TC.) ของแต่ละม้วนไว้ เพื่อจัดทำเป็น EDL. (EditDecision List) สำหรับใช้เป็นข้อมูลตัดต่อแบบ Online ต่อไป
อุปกรณ์ตัดต่อแบบ Offline

แบบ Nonlinear แบบ Linear Cut to cut
2)อุปกรณ์แบบ Linearคือระบบเดิมที่ใช้เครื่อง Video tape ตัดต่อธรรมดาแบบ Cut to cut
ยังไม่ต้องใส่เทคนิคอะไรลงไป ตัดเพื่อเลือกดู Shot ที่ต้องการและ TC. เพื่อใช้เป็นแนวตัวอย่างสำหรับใช้ตัดต่อแบบ Online ที่สมบูรณ์ต่อไป

แบบNon-linear แบบLinear
ตัดต่อแบบ(วิธี) Online
เป็นขั้นตอนที่นำข้อมูลรายละเอียดจากวิธี Offline มาจัดทำเทคนิคพิเศษ เช่น ซ้อนตัวอักษร พลิกเปลี่ยนภาพ Dissolve Wipe จัดทำไตเติ้ล (Title) เครดิท (credit) ท้ายรายการเพื่อแสดงความรับผิดชอบผลงาน และเป็นประวัติไว้สืบค้นได้ บันทึกเสียงบรรยายเสียงประกอบเสียงดนตรี โดยเน้นคุณภาพที่สมบูรณ์ และถูกต้องก่อนที่จะนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ต่อไป เลือกใช้อุปกรณ์ได้สองแบบเช่นเดียวกัน คือ
1 อุปกรณ์แบบNon-linearเป็นการใช้คอมพิวเตอร์แต่จะบีบอัดข้อมูล (Compress)
ให้มีความละเอียดของภาพคมชัดสูงโดยใช้ข้อมูล EDL. จากวิธี Off line มาใช้เป็นตัวอย่าง
2 อุปกรณ์แบบ Linearใช้เครื่อง Video tape เป็นเครื่องเล่น ( Player) จำนวนสองเครื่อง
ต่อเชื่อมกับเครื่องผสมสัญญาณภาพและสร้างภาพพิเศษ SEG.(Special Effect Generator) ไปยังเครื่องบันทึก (Video tape Record ) หรือเรียกการตัดต่อแบบนี้ว่าA/B Roll Edit (เอ บีโรล) A และ B คือเครื่องเล่น (Player)
หมายเหตุ
1. Off Line/On Line เป็นวิธีการและขั้นตอนการตัดต่อ Offline จะใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่ต้อง
มีคุณภาพสูงก็ได้ การใช้เวลาตัดต่อด้วยวิธีนี้ จะทำให้ประหยัดงบลงทุนได้มาก เพราะอุปกรณ์ Offline
ราคาไม่แพง หรืออาจจะเรียกวิธี Offline นี้ว่าการทำ Pre- Edit และการตัดต่อแบบ Online ที่ใช้อุปกรณ์
คุณภาพสูง มีราคาแพงว่า Post-Edit ก็ได้
2. Linear และ Nonlinear เป็นชนิดของอุปกรณ์หรือเครื่องมือ Linear เป็นอุปกรณ์แบบเก่าที่แยกชิ้นส่วน
แต่ Non linear เป็นอุปกรณ์ที่รวมการทำงานทุกอย่าง ไว้ในคอมพิวเตอร์ถ้าจะทำเทคนิคพิเศษ
ให้ได้คุณภาพเท่ากัน อุปกรณ์ Nonlinear มีราคาถูกกว่าอุปกณ์ Linear
3. อย่ากังวลกับเรื่องของอุปกรณ์มากเกินไป เพราะเทคโนโลยีด้านนี้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก แต่ควรจะคำนึงถึง
เนื้อหา รูปแบบรายการ การสร้างสรรค์รายการ ที่จะสื่อไปสู่กลุ่มเป้าหมาย การผลิตรายการที่ดีมีคุณภาพ
ตามสภาพของอุปกรณ์ที่มีอยู่ เพราะบางครั้งรายการที่ดีก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องผลิตมาจากอุปกรณ์
รุ่นใหม่ หรือมีราคาแพงเสมอไป คงคล้ายกับการขับรถยนต์ ถ้ารู้และปฏิบัติตามกฎจราจรได้อย่างถูกต้อง
ก็สามารถที่จะขับรถยนต์ได้ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อและเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยเช่นกัน
การใส่ข้อความที่ต้นรายการ (Title) และท้ายรายการโทรทัศน์ (Credit)
• หนังสือทุกเล่มต้องมีปกมีชื่อเรื่อง และท้ายเล่มก็ต้องมีรายชื่อคณะผู้จัดทำ ระบุชื่อโรงพิมพ์ ปี พ.ศ.ที่พิมพ์เพื่อให้สืบค้นและใช้อ้างอิงได้ในภายหลัง รายการโทรทัศน์ก็ไม่ต่างกัน ทุกรายการจะต้องมีหัวรายการ หรือมักเรียกทับศัพท์ว่าไตเติ้ล (Title)
• ท้ายรายการก็ต้องให้เกียรติทีมงาน โดยระบุหน้าที่ว่าใครทำอะไรตรงส่วนไหนบ้าง เรียกว่าให้เครดิท (Credit) และยังเป็นการรับผิดชอบผลงาน ให้สามารถติหรือชมได้ถูกต้องตรงตัว

ต้นรายการ (Title)
(ชื่หน่วยงาน)..................................................................................................................................
เสนอ
รายการ...........................................................................................................................................
เรื่อง...............................................................................................................................................
..........................................................................................................................................วิทยากร
......................................................................................................................พิธีกร/ดำเนินรายการ
..........................................................................................................................................เขียนบท
(ไม่ต้องใส่นาย นางนำหน้าแต่หากมียศ ตำแหน่ง เช่น ผศ. รศ. พตอ. ดร. นพ. มรว. คุณหญิง ให้ใส่ได้ตามความเหมาะสม)

ท้ายรายการ (Credit)
.......................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
ที่ปรึกษา
(ผู้ที่มีต่ำแหน่งหน้าที่ระดับสูงในองค์กร เช่นอธิบดี ปลัดกระทรวงฯกี่คนก็ตามความเหมาะสมเป็นการให้เกียรติ และรับผิดชอบร่วมกัน)
...........................................................................................................................................................ช่างภาพ
..............................................................................................................................................ตัดต่อลำดับภาพ
......................................................................................................................................บรรยาย (ผู้ที่ให้เสียง)
................................................................................................................................................ฉาก/ศิลปกรรม
............................................................................................................................................................ กราฟิก
............................................................................................................................................................ .จัดแสง
.................................................................................................................................................... ควบคุมเสียง
.....................................................................................................................................................ประสานงาน
ขอขอบคุณ........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
(ชื่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื่อสถานที่ อุปกรณ์ หรืออำนวยความสะดวกฯ)

……………………………………………………………….........................................................กำกับเวที
(Floor manager)
.....................................................................................................................................................กำกับรายการ
(Director)
.................................................................................................................................................ควบคุมการผลิต
(Producer)
..................................................................................................................................................อำนวยการผลิต
(ผอ.หรือหัวหน้าหน่วยงานนั้น)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
ผลิตรายการ
(ชื่อหน่วยงานที่ผลิต เรียงตามลำดับจากระดับหน่วยที่ผลิตไปถึงระดับที่สูงขึ้นไปตามสายงาน) ก่อนถึงตำแหน่งประสานงานถ้ามีตำแหน่งอื่นใส่ไว้อีกก็ได้ เช่น แต่งหน้า ทำผม เครื่องประดับเครื่องแต่งกาย และทุกตำแหน่งจะมีผู้ช่วยก็ได้ เช่น ผู้ช่วยกล้องผู้ช่วยผู้กำกับ ถ้าเป็นรายการที่ใช้กล้องตัวเดียว ไม่ต้องมีตำแหน่ง
กำกับเวที

เลือกแบบ (Font) ตัวอักษรให้อ่านง่าย เหมาะสมกับเนื้อหา เลือกสีตัวอักษรสีขอบตัวอักษรและสีพื้นให้
ตัดกัน (Contrast) เพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด ไม่ควรใช้สีที่ใกล้เคียงกัน ไม่เน้นลวดลายสวยงามแต่อ่านยาก การเลื่อนบรรทัดหรือเปลี่ยนหน้าควรอ่านในใจให้พอดี อย่าแช่ค้างไว้หรือเร่งให้เร็วเกินไปจนอ่านไม่ทัน

ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์

ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์
• การเตรียมงาน (P.1= Pre Production)
• การผลิตหรือการถ่ายทำ (P.2= Production)
• การตัดต่อและร้อยเรียงรายการ (P.3= Post Production)
การผลิตรายการโทรทัศน์
การผลิตรายการโทรทัศน์เปรียบไปคงคล้ายกับการทำอาหาร คือจะปรุงอย่างไรให้อร่อยและมีคุณค่า
ทางโภชนาการ อาหารทั้งคาวหวานแต่ละชนิด ต้องใช้อะไรเป็นส่วนผสม ใช้ปริมาณเท่าไร จะหาได้จากที่ไหนมีขั้นตอนการปรุงอย่างไร รสชาติจึงจะถูกปากทุกๆ ขั้นตอนต้องมีการวางแผน เช่นเดียวกับการผลิตรายการโทรทัศน์ เพราะถ้าหากได้มีการวางแผนเตรียมการทุกขั้นตอนไว้ดีแล้ว จะสามารถจินตนาการ ถึงเรื่องราวตอนจบได้เลยการถ่ายทำ การตัดต่อก็จะไม่สะดุด ไม่ต้องเสียเวลาถกเถียงกันภายหลัง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านอื่นๆตามมา เช่นงบประมาณบานปลาย งานล่าช้าไม่เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดไว้ อาจถูกปรับหรือยกเลิก ไม่มีโอกาสได้นำเสนอหรือทีมงานอาจจะไม่ขอทำงานร่วมกันอีก ล้วนแล้วแต่เป็นผลเสียทั้งสิ้น

ประชุมวางแผน
ทุกขั้นตอนของการผลิตรายการ มีปัจจัย มีองค์ประกอบมีรายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องคน (Man) วัสดุ
อุปกรณ์ (Material) งบประมาณ (Money) การจัดการ (Management) รวมทั้งเวลา (Time) เข้ามาเกี่ยวข้อง (4 M+1T) การเตรียมความพร้อมที่ดี จะทำให้งานสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง ปัญหาเป็นเรื่องปกติของการทำงาน เพื่อให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด ก่อนที่จะออกไปปฏิบัติงานจริง จึงต้องช่วยกันคิดตั้งสมมุติฐานว่าถ้าเกิดปัญหาอย่างนี้ จะแก้ปัญหานั้นด้วยวิธีใดได้อย่างไร ตั้งคำถามและหาคำตอบไว้ล่วงหน้า ประชุมหาข้อสรุป ถกเถียงกันในรายละเอียดให้จบ อธิบายให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน แล้วมอบหมายหน้าที่แบ่งงานกันทำ แม้จะไม่ตรงตามนั้นทุกอย่าง ก็สามารถปรับยืดหยุ่นวิธีการทำงานได้ แต่หลักการนั้นยังคงอยู่เพื่อไปสู่จุดหมายเดียวกัน หลักการผลิตรายการโทรทัศน์มีขั้นตอนดังนี้





3 P กับการผลิตรายการโทรทัศน์
P 1 = Pre- production คือขั้นตอนของการเตรียมงาน ก่อนที่จะถ่ายทำรายการจริง
P 2 = Production คือขั้นตอนของการถ่ายทำรายการ
P 3 = Post –production คือขั้นตอนของการตัดต่อร้อยเรียงรายการให้สมบูรณ์ ทั้งด้านภาพ
เสียง และเทคนิคพิเศษต่างๆ รวมทั้งการตรวจสอบความถูกต้อง
ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่
ในแต่ละขั้นตอนทั้งสามพี (3P) มีความสำคัญเท่าๆกัน โดยมีรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนดังนี้
P 1 = การเตรียมงาน Pre - production
ในขั้นตอนนี้คือจุดเริ่มต้นของการทำงาน หากมีการวางแผนเตรียมงานไว้ดี มีรายละเอียดขั้นตอน วิธีการทำงานชัดเจน แม้จะต้องใช้งบประมาณใช้เวลามากกว่าขั้นตอนอื่นๆ ก็คุ้มค่า เพราะจะทำให้การทำงานในขั้นตอนอื่นๆสะดวก รวดเร็ว ช่วยลดปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยมีรายละเอียดในแต่ละหัวข้อดังนี้
1.การวางแผน (Plan)
คือการกำหนดทิศทางขั้นตอนในการทำงานว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร จะได้อะไร เป็นการ
ตั้งคำถามและหาคำตอบหาข้อสรุปให้ใกล้เคียงกับคำถามได้มากที่สุด โดยมีหัวข้อไว้ตั้งคำถามหลักๆ 7 หัวข้อคือ 5W+2H ดังนี้
1) กำหนดวัตถุประสงค์ ทำไหมจึงต้องทำ (Why? ) เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการอย่างชัดเจน สามารถ
นำไปปฏิบัติได้ มีขอบเขตในการดำเนินงาน
2) กำหนดเป้าหมาย จะทำอะไร (What?) กำหนดเพื่อเป็นการคาดหวังผลสำเร็จไว้ล่วงหน้า ทั้ง
ในด้านปริมาณและคุณภาพ
3) จัดลำดับขั้นตอน การทำงานจะทำเมื่อไหร่(When?) กำหนดระยะเวลาการทำงานแต่ละ
ขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย (วัน เดือน ปี)
4) กำหนดสถานที่ ที่ไหน (Where?) จะผลิตรายการ (ถ่ายทำ) ในสถานที่ (Studio) หรือ
นอกสถานที่ (Outdoor) ที่ไหนบ้าง (ระยะทางใกล้หรือไกล) ตัดต่อที่ไหน เสร็จแล้วจะนำไปเผยแพร่ที่ไหนบ้าง
5) กำหนดผู้รับผิดชอบ แต่ละขั้นตอน ใคร (Who?) มอบหมายในแต่ละกิจกรรมระบุหน้าที่
ขอบเขตในการทำงานให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงคุณภาพของงาน และความรู้ความสามารถของคน อย่าให้คนล้นงาน (คนมากกว่างาน)
6) กำหนดวิธีการทำงาน จะทำอย่างไร (How?) ระบุรายละเอียด ในแต่ละกิจกรรมว่าจะต้องทำ
อย่างไร เขียนไว้ให้ละเอียดเพื่อสะดวกต่อการนำไปปฏิบัติจริง
7) กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่าย เท่าไหร่(How much?) คิดให้ละเอียดแม้ในส่วนปลีกย่อยอื่นๆ
ที่อาจคาดไม่ถึงก็ต้องคิดเผื่อไว้ด้วย
2.การจัดทำเนื้อหา(Content)
เมื่อตั้งคำถามและหาคำตอบได้แล้ว ก่อนที่จะผลิตรายการ จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อหา สำหรับใช้เขียนบทที่มีความถูกต้องชัดเจน และมีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาจะต้องไม่ส่งผลกระทบในทางที่เสื่อมเสียต่อสังคม มีสาระที่ให้ข้อคิดที่ดีมีประโยชน์ต่อผู้ชม โดยมีที่มาของแหล่งข้อมูล ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
1. รวบรวม ค้นคว้าหาข้อมูลจาก
 เอกสาร หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร ผลงานวิจัย ฯ
 บุคคล ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ โดยตรง ฯ
 หน่วยงาน สถานที่ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยขอความร่วมมือ ขอข้อมูล การออกไปสำรวจยังแหล่งพื้นที่จริง (Scout location) ฯ
 อินเทอร์เน็ต (Internet)
2. วิเคราะห์ข้อมูลที่ค้นคว้ารวบรวม สรุปจัดทำเป็นร่างเนื้อหา
3. จัดทำเนื้อหาเรียบเรียงให้ถูกต้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเขียนบท
3.เขียนบท (Script)
บทเป็นเสมือนแผนที่เดินทาง หรือแบบแปลนการก่อสร้าง หากมีรายละเอียดชัดเจนอ่านแล้วเข้าใจ
ก็จะทำให้การถ่ายทำสะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1) สร้างสรรค์รูปแบบการนำเสนอ (Creation) เช่น สารคดี สาธิต ละคร ข่าว ฯลฯ อาจ
ผสมผสานให้มีความหลากหลาย (Variety) แต่อย่าให้เบี่ยงเบนประเด็นของเรื่อง
2) กำหนดแก่นของเรื่อง (Theme) ต้องมีเอกภาพ (Unity) สั้น อ่านแล้วเข้าใจง่าย ตัวอย่างเช่น
แก่นของภาพยนตร์เรื่องนางนาก ของนนทรี นิมิบุตร คือ ความรักและการพลัดพราก
3) กำหนดเค้าโครงเรื่อง (Plot/Treatment) โดยกำหนดสัดส่วน เช่น มีบทนำ (Introduction)
ประมาณ 10% มีเนื้อหา (Content) ประมาณ 80% มีบทสรุป (Summary) ประมาณ 10% และในตอนจบจะต้องมีจุดสุดยอดของเรื่อง (Climax)
4) เขียนบทร่าง(Outline script หรือ Fact sheet) เมื่อกำหนดเค้าโครงเรื่องได้แล้ว ควรเขียน
บทร่างเพื่อให้มองเห็นภาพกว้างๆ กำหนดฉาก หัวข้อบทสนทนาหรือแนวคำบรรยาย
5) เขียนบทกึ่งสมบูรณ์(Semi Script) มีรายละเอียดมากกว่าแบบ Outline แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นที่
สมบูรณ์ เพียงกำหนดไว้อย่างกว้างๆ เช่น เรื่องอะไร จำนวนผู้ที่จะมาร่วมในรายการกี่คน เป็นใครบ้าง ประเด็นเรื่องที่จะสนทนา มีแนวคำถาม คำตอบไว้ให้
6) เขียนบทสมบูรณ์ (Full script ,Shooting script ,Screenplay) เมื่อแก้ไขบทร่างแล้ว ควรเขียนบทที่สมบูรณ์ เขียนให้ละเอียด อธิบายให้ชัดเจนทั้งขนาดภาพ มุมกล้อง แสง เสียง หากเป็นการแสดงจะต้องบอกถึงกริยา ท่าทาง อารมณ์ สถานที่และส่วนประกอบในฉากด้วย หรือจะเขียนเป็นภาพประกอบเล่าเรื่องก็ได้ (Storyboard)
7) ตรวจแก้ไขก่อนนำไปใช้ถ่ายทำ ควรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในคณะทำงานได้รับรู้ เพื่อให้ทุกคนมี
ส่วนร่วมและเข้าใจตรงกัน
4.การประสานงาน(Studio)
การทำงานเป็นกลุ่ม เรื่องการประสานงานเป็นสิ่งที่สำคัญมากต้องให้ทุกคนในกลุ่มรู้และเข้าใจตรงกัน การสื่อความหมายต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ กำหนดนัดหมาย ประชุมวางแผน ขั้นตอนการทำงาน ใครมีหน้าที่ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เพื่อให้ทุกคนรู้บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและขอบเขตการทำงานของตนเอง ผู้ที่ทำหน้าที่นี้จึงมีความสำคัญมาก เพราะหากผิดพลาดก็จะกลายเป็นการประสานงา (ตัว น หายไป) โดยมีหัวข้อสำคัญที่ต้องประสานงานดังนี้
1) คณะทำงาน (Staff)
 ผู้เขียนบท (Scriptwriter)
 ผู้กำกับ (Director)

 ทีมงานด้านเทคนิค ภาพ แสง เสียง และระบบ ( Engineer & Technician Team)
 ฉาก ศิลปกรรม กราฟิก (Scene setting Prop Art work Graphic)
 พิธีกร วิทยากร ผู้แสดง
2) สถานที่ อยู่ที่ไหนระยะทางอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล เดินทางไปอย่างไร ต้องใช้พาหนะอะไร
 ถ่ายทำที่ไหน ในสถานที่ (Studio) หรือนอกสถานที่ (Outdoor)
 ตัดต่อรายการแบบ Off line / On line ที่ไหน
 เผยแพร่รายการ (สถานีออกอากาศ หรือนำไปใช้ที่ไหน)
3) งบประมาณ (การเงิน พัสดุ ธุรการ)
 ค่าใช้จ่ายต่างๆเช่น ค่าวิทยากร ผู้แสดง พิธีกร
 ค่าเช่าอุปกรณ์ ค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าจัดซื้อวัสดุประกอบ
รายการ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่ารับส่งเอกสาร และอื่นๆที่จำเป็นจะต้องใช้จริง ตั้งเผื่อไว้
บ้างถ้าใช้ไม่หมดก็ส่งคืนได้ดีกว่าที่ไม่ได้ตั้งงบไว้ แต่มีความจำเป็นจะต้องใช้จริงๆ
ก็จะทำให้เสียเวลา
P2 = การผลิตหรือถ่ายทำ Production
เมื่อถึงขั้นตอนนี้คือการนำแผนที่คิดไว้ มาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม แม้จะไม่ตรงตามแผนที่คิดไว้ทั้งหมด แต่ก็ต้องพยายามเดินตามแผนให้ได้มากที่สุด (ยืดหยุ่นในการปฏิบัติแต่ยืนหยัดในหลักการ) ในการถ่ายทำนั้นควรเลือกใช้อุปกรณ์ ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบของรายการได้ดังนี้
1.ถ่ายทำในสถานที่
มีข้อได้เปรียบคือสามารถควบคุมแสง เสียง และจัดตกแต่งฉากได้โดยไม่ต้องกังวลกับสภาพ
ดินฟ้าอากาศเช่น ลมพายุ ฝนตก อากาศร้อนหรือหนาว สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ถ่ายทำได้รวดเร็ว เพราะมีกล้องมากกว่าหนึ่งกล้อง (ส่วนมากจะมีไม่ต่ำกว่าสามกล้อง) ทำให้ถ่ายทำได้อย่างต่อเนื่องจากหลายมุมมอง มีลำดับขั้นตอน
การทำงานดังนี้
1 จัดทำฉาก ตกแต่งฉากตามที่ออกแบบไว้
2 จัดแสงให้ได้บรรยากาศตามบทและสภาพของฉาก
3 จัดติดตั้งไมโครโฟนตามจำนวนและจุดที่กำหนด
4 จัดวางตำแหน่งกล้องตามจุดที่กำหนดและทิศทางการเคลื่อนย้ายเปลี่ยน มุมและขนาดภาพ (3 กล้อง)

5 ซักซ้อมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งทีมช่างเทคนิค ช่างภาพ และผู้ที่มาร่วมในรายการให้มี
ความเข้าใจตรงกัน ขั้นตอนเปิดรายการเป็นอย่างไร เปิด - ปิดรายการด้วยกล้องตัวไหน(ซักซ้อมให้เหมือนกับการทำรายการจริง )
6 ลงมือถ่ายทำตามที่ได้ซักซ้อมไว้ ระหว่างการบันทึกรายการ (ในกรณีที่ไม่ใช่รายการสด)
หากมีข้อมูลไม่ถูกต้อง หรือผิดพลาดด้านอื่นๆ จะต้องสั่งหยุด (Cut) ทันที ต้องควบคุมคุณภาพ ระดับเสียง ความถูกต้องของเนื้อหา ถ่ายทำจบแล้วควรถ่ายภาพเก็บเผื่อไว้บ้างไว้สำหรับ Cut a way เพื่อแทรกภาพ (Insert) แก้ไขเพิ่มหรือลดความยาวของรายการได้
2 การถ่ายทำนอกสถานที่(Outdoor)แบ่งออกเป็นสามแบบคือ
1 แบบใช้กล้องเดี่ยวเรียกว่าชุด ENG. (Electronic News Gathering) ลักษณะที่ตัวกล้อง
กับเครื่องบันทึกเทปประกอบติดกัน ทั้งที่ถอดแยกส่วนได้ (Dock able) และที่ประกอบเป็นชิ้นเดียวกัน (One-pieceหรือ Camcorder) จึงเหมาะสำหรับงานถ่ายทำข่าว ถ่ายทำสารคดีที่ต้องการความคล่องตัว สะดวกรวดเร็วในการทำงานใช้ทีมงานไม่มาก เพียงสองหรือสามคนก็พอ โดยมีขั้นตอนดังนี้

 จัดเตรียมอุปกรณ์ กล้องและเครื่องบันทึกภาพ ขาตั้งกล้อง โคมไฟและขาตั้งโคมไฟ
เครื่องชาร์ทแบตเตอรี่ ไมโครโฟน ม้วนวิดีโอเทป หรือแผ่นที่ใช้เก็บข้อมูล (Memorycard) สายไฟ ปลั๊กไฟ แบตเตอรี่ สายสัญญาณภาพและเสียงพร้อมขั้วหัวสายชนิดต่างๆ
 ประสานงานด้านธุรการ การเงิน พัสดุ ฯ
 นัดหมายทีมงาน
 เดินทางตามกำหนดนัดหมาย
 ถ่ายทำตามบทในจุดที่กำหนด
2 แบบใช้กล้องมากกว่าหนึ่งตัว เรียกว่าชุด EFP.(Electronic Field Product)ใช้อุปกรณ์ คล้ายกับในห้อง Studio แต่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ถาวร มีกล้องตั้งแต่สองกล้องขึ้นไป ต่อสายCable จากกล้องเชื่อมต่อไปเข้าเครื่องผสมสัญญาณภาพ (Vision Mixer) สามารถเลือกได้จากหลายกล้องและหลายมุมมอง ถ่ายทำจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเคลื่อนย้ายติดตั้งได้ตามโอกาสและสภาพการใช้งาน เหมาะกับรายการสนทนา สาธิต อภิปราย ฯ ที่มีการถ่ายทำนอกสถานที่ตามเหตุการณ์จริง จึงมีลักษณะการทำงานผสมผสาน คล้ายกับการผลิตรายการในสถานที่ (Studio)

3 แบบใช้รถ Mobile Unit มีอุปกรณ์ระบบต่างๆ คล้ายในห้องผลิตรายการ (Studio) และชุด EFP.ติดตั้งไว้บนรถยนต์ สามารถเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ถ่ายทำได้ การเตรียมงานและการผลิตรายการ จึงมีขั้นตอนคล้ายกับการทำงานใน Studio และ EFP. การผลิตรายการโดยรถ Mobile เป็นการบันทึกรายการแล้วนำมาตัดต่อทำ Post Production ภายหลัง แต่ถ้าเป็นการถ่ายทอดสดบรรยากาศเหตุการณ์ในขณะนั้น เช่น การแข่งขันกีÃา งานพระราชพิธีหรือการประชุมสัมมนาฯ จะต้องมีชุดส่งสัญญาณจากรถ Mobile Unit ไปยังสถานีแม่ข่ายเพื่อส่งเผยแพร่รายการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ในเวลาจริง เรียกรถถ่ายทำนี้ว่ารถ
OB.Van (Outside Broadcast Van)

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

Microsoft Authorware

โปรแกรม Authorware จัดเป็นโปรแกรมประเภท Authoring System ที่ใช้ในการเรียบเรียงงานนำเสนอลักษณะ Multimidia มีทั่งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง เสียงอธิบาย Sound Effect และสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โปรแกรมได้หลายรูปแบบ ซึ่งจากคุณสมบัติดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง
Adobe Authorware เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา CAI มันถือกำเนิดขึ้นจากห้องทดลองวิจัยและพัฒนาเพลโท (PLATO R&D labs) ที่บริษัท Control data ผู้ที่สร้างมันขึ้นมาคือ Michael W. Allen โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้มันเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาในเรื่องของต้นทุนการใช้เงิน เวลา และทรัพยากรมนุษย์มากเกินความจำเป็น ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการโต้ตอบกับผู้ใช้ เป็นการลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้คนทั่วไปสามารถถ่ายทอดทักษะ ความรู้ความเข้าใจของพวกเขาจากซอฟต์แวร์ที่สร้าง ไปสู่บุคคลอื่นที่ปรารถนาที่จะเรียนรู้
จากนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก Adobe Authorware เป็น Microsoft Authorware

คุณลักษณะ Microsoft Authorware
1.สร้างสรรค์ทุกสิ่งทุกอย่าง จาก Web-based tutorials ไปจนถึง simulations อันซับซ้อน รวมเสียงเข้ากับวิดีโอด้วย Macromedia Authorware ซึ่งเป็นทางออกในการสร้างสรรค์สื่อสำหรับ eLearning ส่งผ่านแอพลิเคชั่นของท่านบนเว็บ เครือข่ายของหน่วยงาน หรือ CD-ROM ติดตามผลการเรียนของผู้เรียนได้ง่าย และให้ผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุน
2. Authorware จัดเป็นเครื่องมือนิพนธ์ (Authoring tool) เครื่องมือนิพนธ์ หมายถึงโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย ในการใช้มัน คุณไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในเรื่องศิลปะของการโปรแกรมแบบเก่า เครื่องมือนิพนธ์มักพึ่งพาอาศัยไอคอนหรือวัตถุ (objects) แทนฟังค์ชันหนึ่งๆ เช่น การแสดงข้อความและภาพ การเล่นเสียง หรือการสร้างการโต้ตอบ
3. Authorware เป็นโปรแกรมการพัฒนาที่ใช้ ไอคอนเป็นพื้นฐาน (icon-based) มีสมรรถภาพสูง ทำให้ทุกคน ทั้งครู นักเรียนนักศึกษา ศิลปิน ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา และโปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาผลงานมัลติมีเดียที่ซับซ้อนและยุ่งยากได้

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

(CAI)คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ความหมายคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
CAI : Computer - Assisted Instruction
หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอ สื่อประสมได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
คำศัพท์คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนซึ่งมีชื่อเรียก ในภาษาอังกฤษแตกต่างกันออกไป หลายชื่อ เช่น Computer -Assisted Instruction, Computer Based Instruction และ computer -Based Teaching and Learning System
หมายถึง การสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวนและการถามตอบไว้พร้อมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และเป็นรายบุคคล โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อใน การเรียนการสอน
แนวคิดและหลักการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. เร่งเร้าความสนใจ 2. บอกวัตถุประสงค์ 3. ทบทวนความรู้เดิม 4. การเสนอเนื้อหาใหม่
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ 6. การกระตุ้นการตอบสนอง
7. ให้ข้อมูลป้อนกลับ 8. ทดสอบความรู้ใหม่
9. สรุปและนำไปใช้
1. เร่งเร้าความสนใจ ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงควรเริ่มด้วยการใช้ภาพ แสง สี เสียง หรือใช้สื่อประกอบกันหลายๆ อย่าง โดยสื่อที่สร้างขึ้นมานั้นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและน่าสนใจ
2. บอกวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของบทเรียน นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อกระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของบทเรียนจากผู้เรียน นอกจากผู้เรียนจะทราบถึงพฤติกรรม ขั้นสุดท้ายของตนเองหลังจบบทเรียนแล้ว เป็นการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา รวมทั้งเค้าโครงของเนื้อหาอีกด้วย
3. ทบทวนความรู้เดิม
เป็นการทบทวนความรู้ความคิดเดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงความรู้เดิมและเพื่อจะรับความรู้ใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการประเมิน วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ การทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test)
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่
นำเสนอเนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ ควรนำเสนอเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนำเสนอภาพ ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น และมีความคงทนในการจำได้ดีกว่า
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้
ตามหลักการและเงื่อนไขการเรียนรู้ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี เป็นการชี้แนะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์และตีความในเนื้อหาใหม่ลงบนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์เดิม
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน
ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านหรือคัดลอกข้อความจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ
หลังจากผู้เรียนได้มีโอกาสได้ทดสอบความเข้าใจของตนในเนื้อหาที่กำลังศึกษาจากขั้นตอนของการกระตุ้นการตอบสนองแล้วการให้ผลย้อนกลับหรือข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนเกี่ยวกับความถูกต้องและระดับความถูกต้องของคำตอบนั้นๆ การให้ผลย้อนกลับถือเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้
8. ทดสอบความรู้ใหม่
การทดสอบความรู้ ซึ่งเป็นการประเมินว่าผู้เรียนนั้นได้เกิดการเรียนรู้ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายหรือไม่อย่างไร การทดสอบความรู้นั้นอาจจะเป็นการทดสอบหลังจากผู้เรียนได้เรียนจบวัตถุประสงค์
9. สรุปและนำไปใช้
การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้ ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อธิบายภาพถ่าย

1. ECU ( Extreme Close up ) ขนาดภาพใกล้สุดๆ ถ่ายทอดรายละเอียดเฉพาะส่วนของนักแสดง วัตถุ ภาพที่ดิฉันเอามาคคือภาพรูปดอกทานตะวันค่ะ

2. CU ( Close up ) ขนาดภาพใกล้ เช่น เต็มใบหน้า เห็นสีหน้าและอารมณ์ที่แสดงอย่างชัดเจน เป็นภาพ รูปนกค่ะ

3. MCU ( Medium Close up ) ขนาดภาพปานกลางใกล้ ตั้งแต่หน้าอกขึ้นไป มองเห็นนักแสดงหรือวัตถุผสมกับบรรยากาศนิดหน่อย เป็นรูปของดิฉันเองค่ะ

4. LS (LONG SHOT) ขนาดภาพไกล เห็นนักแสดงตัวเล็กอยู่ในสภาพแวดล้อม เป็นภาพที่ถ่ายบ้านคนค่ะ

5. ELS (EXTREME LONG SHOT) ขนาดภาพไกลสุดๆ บอกเล่าสถานที่และบรรยากาศโดยรวม เป็นรูปภูเขาค่ะ