วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

Microsoft Authorware

โปรแกรม Authorware จัดเป็นโปรแกรมประเภท Authoring System ที่ใช้ในการเรียบเรียงงานนำเสนอลักษณะ Multimidia มีทั่งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง เสียงอธิบาย Sound Effect และสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โปรแกรมได้หลายรูปแบบ ซึ่งจากคุณสมบัติดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง
Adobe Authorware เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา CAI มันถือกำเนิดขึ้นจากห้องทดลองวิจัยและพัฒนาเพลโท (PLATO R&D labs) ที่บริษัท Control data ผู้ที่สร้างมันขึ้นมาคือ Michael W. Allen โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้มันเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาในเรื่องของต้นทุนการใช้เงิน เวลา และทรัพยากรมนุษย์มากเกินความจำเป็น ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการโต้ตอบกับผู้ใช้ เป็นการลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้คนทั่วไปสามารถถ่ายทอดทักษะ ความรู้ความเข้าใจของพวกเขาจากซอฟต์แวร์ที่สร้าง ไปสู่บุคคลอื่นที่ปรารถนาที่จะเรียนรู้
จากนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก Adobe Authorware เป็น Microsoft Authorware

คุณลักษณะ Microsoft Authorware
1.สร้างสรรค์ทุกสิ่งทุกอย่าง จาก Web-based tutorials ไปจนถึง simulations อันซับซ้อน รวมเสียงเข้ากับวิดีโอด้วย Macromedia Authorware ซึ่งเป็นทางออกในการสร้างสรรค์สื่อสำหรับ eLearning ส่งผ่านแอพลิเคชั่นของท่านบนเว็บ เครือข่ายของหน่วยงาน หรือ CD-ROM ติดตามผลการเรียนของผู้เรียนได้ง่าย และให้ผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุน
2. Authorware จัดเป็นเครื่องมือนิพนธ์ (Authoring tool) เครื่องมือนิพนธ์ หมายถึงโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย ในการใช้มัน คุณไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในเรื่องศิลปะของการโปรแกรมแบบเก่า เครื่องมือนิพนธ์มักพึ่งพาอาศัยไอคอนหรือวัตถุ (objects) แทนฟังค์ชันหนึ่งๆ เช่น การแสดงข้อความและภาพ การเล่นเสียง หรือการสร้างการโต้ตอบ
3. Authorware เป็นโปรแกรมการพัฒนาที่ใช้ ไอคอนเป็นพื้นฐาน (icon-based) มีสมรรถภาพสูง ทำให้ทุกคน ทั้งครู นักเรียนนักศึกษา ศิลปิน ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา และโปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาผลงานมัลติมีเดียที่ซับซ้อนและยุ่งยากได้

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

(CAI)คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ความหมายคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
CAI : Computer - Assisted Instruction
หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอ สื่อประสมได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
คำศัพท์คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนซึ่งมีชื่อเรียก ในภาษาอังกฤษแตกต่างกันออกไป หลายชื่อ เช่น Computer -Assisted Instruction, Computer Based Instruction และ computer -Based Teaching and Learning System
หมายถึง การสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวนและการถามตอบไว้พร้อมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และเป็นรายบุคคล โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อใน การเรียนการสอน
แนวคิดและหลักการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. เร่งเร้าความสนใจ 2. บอกวัตถุประสงค์ 3. ทบทวนความรู้เดิม 4. การเสนอเนื้อหาใหม่
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ 6. การกระตุ้นการตอบสนอง
7. ให้ข้อมูลป้อนกลับ 8. ทดสอบความรู้ใหม่
9. สรุปและนำไปใช้
1. เร่งเร้าความสนใจ ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงควรเริ่มด้วยการใช้ภาพ แสง สี เสียง หรือใช้สื่อประกอบกันหลายๆ อย่าง โดยสื่อที่สร้างขึ้นมานั้นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและน่าสนใจ
2. บอกวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของบทเรียน นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อกระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของบทเรียนจากผู้เรียน นอกจากผู้เรียนจะทราบถึงพฤติกรรม ขั้นสุดท้ายของตนเองหลังจบบทเรียนแล้ว เป็นการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา รวมทั้งเค้าโครงของเนื้อหาอีกด้วย
3. ทบทวนความรู้เดิม
เป็นการทบทวนความรู้ความคิดเดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงความรู้เดิมและเพื่อจะรับความรู้ใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการประเมิน วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ การทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test)
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่
นำเสนอเนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ ควรนำเสนอเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนำเสนอภาพ ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น และมีความคงทนในการจำได้ดีกว่า
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้
ตามหลักการและเงื่อนไขการเรียนรู้ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี เป็นการชี้แนะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์และตีความในเนื้อหาใหม่ลงบนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์เดิม
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน
ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านหรือคัดลอกข้อความจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ
หลังจากผู้เรียนได้มีโอกาสได้ทดสอบความเข้าใจของตนในเนื้อหาที่กำลังศึกษาจากขั้นตอนของการกระตุ้นการตอบสนองแล้วการให้ผลย้อนกลับหรือข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนเกี่ยวกับความถูกต้องและระดับความถูกต้องของคำตอบนั้นๆ การให้ผลย้อนกลับถือเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้
8. ทดสอบความรู้ใหม่
การทดสอบความรู้ ซึ่งเป็นการประเมินว่าผู้เรียนนั้นได้เกิดการเรียนรู้ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายหรือไม่อย่างไร การทดสอบความรู้นั้นอาจจะเป็นการทดสอบหลังจากผู้เรียนได้เรียนจบวัตถุประสงค์
9. สรุปและนำไปใช้
การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้ ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว