วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์

ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์
• การเตรียมงาน (P.1= Pre Production)
• การผลิตหรือการถ่ายทำ (P.2= Production)
• การตัดต่อและร้อยเรียงรายการ (P.3= Post Production)
การผลิตรายการโทรทัศน์
การผลิตรายการโทรทัศน์เปรียบไปคงคล้ายกับการทำอาหาร คือจะปรุงอย่างไรให้อร่อยและมีคุณค่า
ทางโภชนาการ อาหารทั้งคาวหวานแต่ละชนิด ต้องใช้อะไรเป็นส่วนผสม ใช้ปริมาณเท่าไร จะหาได้จากที่ไหนมีขั้นตอนการปรุงอย่างไร รสชาติจึงจะถูกปากทุกๆ ขั้นตอนต้องมีการวางแผน เช่นเดียวกับการผลิตรายการโทรทัศน์ เพราะถ้าหากได้มีการวางแผนเตรียมการทุกขั้นตอนไว้ดีแล้ว จะสามารถจินตนาการ ถึงเรื่องราวตอนจบได้เลยการถ่ายทำ การตัดต่อก็จะไม่สะดุด ไม่ต้องเสียเวลาถกเถียงกันภายหลัง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านอื่นๆตามมา เช่นงบประมาณบานปลาย งานล่าช้าไม่เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดไว้ อาจถูกปรับหรือยกเลิก ไม่มีโอกาสได้นำเสนอหรือทีมงานอาจจะไม่ขอทำงานร่วมกันอีก ล้วนแล้วแต่เป็นผลเสียทั้งสิ้น

ประชุมวางแผน
ทุกขั้นตอนของการผลิตรายการ มีปัจจัย มีองค์ประกอบมีรายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องคน (Man) วัสดุ
อุปกรณ์ (Material) งบประมาณ (Money) การจัดการ (Management) รวมทั้งเวลา (Time) เข้ามาเกี่ยวข้อง (4 M+1T) การเตรียมความพร้อมที่ดี จะทำให้งานสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง ปัญหาเป็นเรื่องปกติของการทำงาน เพื่อให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด ก่อนที่จะออกไปปฏิบัติงานจริง จึงต้องช่วยกันคิดตั้งสมมุติฐานว่าถ้าเกิดปัญหาอย่างนี้ จะแก้ปัญหานั้นด้วยวิธีใดได้อย่างไร ตั้งคำถามและหาคำตอบไว้ล่วงหน้า ประชุมหาข้อสรุป ถกเถียงกันในรายละเอียดให้จบ อธิบายให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน แล้วมอบหมายหน้าที่แบ่งงานกันทำ แม้จะไม่ตรงตามนั้นทุกอย่าง ก็สามารถปรับยืดหยุ่นวิธีการทำงานได้ แต่หลักการนั้นยังคงอยู่เพื่อไปสู่จุดหมายเดียวกัน หลักการผลิตรายการโทรทัศน์มีขั้นตอนดังนี้





3 P กับการผลิตรายการโทรทัศน์
P 1 = Pre- production คือขั้นตอนของการเตรียมงาน ก่อนที่จะถ่ายทำรายการจริง
P 2 = Production คือขั้นตอนของการถ่ายทำรายการ
P 3 = Post –production คือขั้นตอนของการตัดต่อร้อยเรียงรายการให้สมบูรณ์ ทั้งด้านภาพ
เสียง และเทคนิคพิเศษต่างๆ รวมทั้งการตรวจสอบความถูกต้อง
ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่
ในแต่ละขั้นตอนทั้งสามพี (3P) มีความสำคัญเท่าๆกัน โดยมีรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนดังนี้
P 1 = การเตรียมงาน Pre - production
ในขั้นตอนนี้คือจุดเริ่มต้นของการทำงาน หากมีการวางแผนเตรียมงานไว้ดี มีรายละเอียดขั้นตอน วิธีการทำงานชัดเจน แม้จะต้องใช้งบประมาณใช้เวลามากกว่าขั้นตอนอื่นๆ ก็คุ้มค่า เพราะจะทำให้การทำงานในขั้นตอนอื่นๆสะดวก รวดเร็ว ช่วยลดปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยมีรายละเอียดในแต่ละหัวข้อดังนี้
1.การวางแผน (Plan)
คือการกำหนดทิศทางขั้นตอนในการทำงานว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร จะได้อะไร เป็นการ
ตั้งคำถามและหาคำตอบหาข้อสรุปให้ใกล้เคียงกับคำถามได้มากที่สุด โดยมีหัวข้อไว้ตั้งคำถามหลักๆ 7 หัวข้อคือ 5W+2H ดังนี้
1) กำหนดวัตถุประสงค์ ทำไหมจึงต้องทำ (Why? ) เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการอย่างชัดเจน สามารถ
นำไปปฏิบัติได้ มีขอบเขตในการดำเนินงาน
2) กำหนดเป้าหมาย จะทำอะไร (What?) กำหนดเพื่อเป็นการคาดหวังผลสำเร็จไว้ล่วงหน้า ทั้ง
ในด้านปริมาณและคุณภาพ
3) จัดลำดับขั้นตอน การทำงานจะทำเมื่อไหร่(When?) กำหนดระยะเวลาการทำงานแต่ละ
ขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย (วัน เดือน ปี)
4) กำหนดสถานที่ ที่ไหน (Where?) จะผลิตรายการ (ถ่ายทำ) ในสถานที่ (Studio) หรือ
นอกสถานที่ (Outdoor) ที่ไหนบ้าง (ระยะทางใกล้หรือไกล) ตัดต่อที่ไหน เสร็จแล้วจะนำไปเผยแพร่ที่ไหนบ้าง
5) กำหนดผู้รับผิดชอบ แต่ละขั้นตอน ใคร (Who?) มอบหมายในแต่ละกิจกรรมระบุหน้าที่
ขอบเขตในการทำงานให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงคุณภาพของงาน และความรู้ความสามารถของคน อย่าให้คนล้นงาน (คนมากกว่างาน)
6) กำหนดวิธีการทำงาน จะทำอย่างไร (How?) ระบุรายละเอียด ในแต่ละกิจกรรมว่าจะต้องทำ
อย่างไร เขียนไว้ให้ละเอียดเพื่อสะดวกต่อการนำไปปฏิบัติจริง
7) กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่าย เท่าไหร่(How much?) คิดให้ละเอียดแม้ในส่วนปลีกย่อยอื่นๆ
ที่อาจคาดไม่ถึงก็ต้องคิดเผื่อไว้ด้วย
2.การจัดทำเนื้อหา(Content)
เมื่อตั้งคำถามและหาคำตอบได้แล้ว ก่อนที่จะผลิตรายการ จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อหา สำหรับใช้เขียนบทที่มีความถูกต้องชัดเจน และมีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาจะต้องไม่ส่งผลกระทบในทางที่เสื่อมเสียต่อสังคม มีสาระที่ให้ข้อคิดที่ดีมีประโยชน์ต่อผู้ชม โดยมีที่มาของแหล่งข้อมูล ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
1. รวบรวม ค้นคว้าหาข้อมูลจาก
 เอกสาร หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร ผลงานวิจัย ฯ
 บุคคล ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ โดยตรง ฯ
 หน่วยงาน สถานที่ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยขอความร่วมมือ ขอข้อมูล การออกไปสำรวจยังแหล่งพื้นที่จริง (Scout location) ฯ
 อินเทอร์เน็ต (Internet)
2. วิเคราะห์ข้อมูลที่ค้นคว้ารวบรวม สรุปจัดทำเป็นร่างเนื้อหา
3. จัดทำเนื้อหาเรียบเรียงให้ถูกต้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเขียนบท
3.เขียนบท (Script)
บทเป็นเสมือนแผนที่เดินทาง หรือแบบแปลนการก่อสร้าง หากมีรายละเอียดชัดเจนอ่านแล้วเข้าใจ
ก็จะทำให้การถ่ายทำสะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1) สร้างสรรค์รูปแบบการนำเสนอ (Creation) เช่น สารคดี สาธิต ละคร ข่าว ฯลฯ อาจ
ผสมผสานให้มีความหลากหลาย (Variety) แต่อย่าให้เบี่ยงเบนประเด็นของเรื่อง
2) กำหนดแก่นของเรื่อง (Theme) ต้องมีเอกภาพ (Unity) สั้น อ่านแล้วเข้าใจง่าย ตัวอย่างเช่น
แก่นของภาพยนตร์เรื่องนางนาก ของนนทรี นิมิบุตร คือ ความรักและการพลัดพราก
3) กำหนดเค้าโครงเรื่อง (Plot/Treatment) โดยกำหนดสัดส่วน เช่น มีบทนำ (Introduction)
ประมาณ 10% มีเนื้อหา (Content) ประมาณ 80% มีบทสรุป (Summary) ประมาณ 10% และในตอนจบจะต้องมีจุดสุดยอดของเรื่อง (Climax)
4) เขียนบทร่าง(Outline script หรือ Fact sheet) เมื่อกำหนดเค้าโครงเรื่องได้แล้ว ควรเขียน
บทร่างเพื่อให้มองเห็นภาพกว้างๆ กำหนดฉาก หัวข้อบทสนทนาหรือแนวคำบรรยาย
5) เขียนบทกึ่งสมบูรณ์(Semi Script) มีรายละเอียดมากกว่าแบบ Outline แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นที่
สมบูรณ์ เพียงกำหนดไว้อย่างกว้างๆ เช่น เรื่องอะไร จำนวนผู้ที่จะมาร่วมในรายการกี่คน เป็นใครบ้าง ประเด็นเรื่องที่จะสนทนา มีแนวคำถาม คำตอบไว้ให้
6) เขียนบทสมบูรณ์ (Full script ,Shooting script ,Screenplay) เมื่อแก้ไขบทร่างแล้ว ควรเขียนบทที่สมบูรณ์ เขียนให้ละเอียด อธิบายให้ชัดเจนทั้งขนาดภาพ มุมกล้อง แสง เสียง หากเป็นการแสดงจะต้องบอกถึงกริยา ท่าทาง อารมณ์ สถานที่และส่วนประกอบในฉากด้วย หรือจะเขียนเป็นภาพประกอบเล่าเรื่องก็ได้ (Storyboard)
7) ตรวจแก้ไขก่อนนำไปใช้ถ่ายทำ ควรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในคณะทำงานได้รับรู้ เพื่อให้ทุกคนมี
ส่วนร่วมและเข้าใจตรงกัน
4.การประสานงาน(Studio)
การทำงานเป็นกลุ่ม เรื่องการประสานงานเป็นสิ่งที่สำคัญมากต้องให้ทุกคนในกลุ่มรู้และเข้าใจตรงกัน การสื่อความหมายต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ กำหนดนัดหมาย ประชุมวางแผน ขั้นตอนการทำงาน ใครมีหน้าที่ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เพื่อให้ทุกคนรู้บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและขอบเขตการทำงานของตนเอง ผู้ที่ทำหน้าที่นี้จึงมีความสำคัญมาก เพราะหากผิดพลาดก็จะกลายเป็นการประสานงา (ตัว น หายไป) โดยมีหัวข้อสำคัญที่ต้องประสานงานดังนี้
1) คณะทำงาน (Staff)
 ผู้เขียนบท (Scriptwriter)
 ผู้กำกับ (Director)

 ทีมงานด้านเทคนิค ภาพ แสง เสียง และระบบ ( Engineer & Technician Team)
 ฉาก ศิลปกรรม กราฟิก (Scene setting Prop Art work Graphic)
 พิธีกร วิทยากร ผู้แสดง
2) สถานที่ อยู่ที่ไหนระยะทางอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล เดินทางไปอย่างไร ต้องใช้พาหนะอะไร
 ถ่ายทำที่ไหน ในสถานที่ (Studio) หรือนอกสถานที่ (Outdoor)
 ตัดต่อรายการแบบ Off line / On line ที่ไหน
 เผยแพร่รายการ (สถานีออกอากาศ หรือนำไปใช้ที่ไหน)
3) งบประมาณ (การเงิน พัสดุ ธุรการ)
 ค่าใช้จ่ายต่างๆเช่น ค่าวิทยากร ผู้แสดง พิธีกร
 ค่าเช่าอุปกรณ์ ค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าจัดซื้อวัสดุประกอบ
รายการ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่ารับส่งเอกสาร และอื่นๆที่จำเป็นจะต้องใช้จริง ตั้งเผื่อไว้
บ้างถ้าใช้ไม่หมดก็ส่งคืนได้ดีกว่าที่ไม่ได้ตั้งงบไว้ แต่มีความจำเป็นจะต้องใช้จริงๆ
ก็จะทำให้เสียเวลา
P2 = การผลิตหรือถ่ายทำ Production
เมื่อถึงขั้นตอนนี้คือการนำแผนที่คิดไว้ มาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม แม้จะไม่ตรงตามแผนที่คิดไว้ทั้งหมด แต่ก็ต้องพยายามเดินตามแผนให้ได้มากที่สุด (ยืดหยุ่นในการปฏิบัติแต่ยืนหยัดในหลักการ) ในการถ่ายทำนั้นควรเลือกใช้อุปกรณ์ ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบของรายการได้ดังนี้
1.ถ่ายทำในสถานที่
มีข้อได้เปรียบคือสามารถควบคุมแสง เสียง และจัดตกแต่งฉากได้โดยไม่ต้องกังวลกับสภาพ
ดินฟ้าอากาศเช่น ลมพายุ ฝนตก อากาศร้อนหรือหนาว สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ถ่ายทำได้รวดเร็ว เพราะมีกล้องมากกว่าหนึ่งกล้อง (ส่วนมากจะมีไม่ต่ำกว่าสามกล้อง) ทำให้ถ่ายทำได้อย่างต่อเนื่องจากหลายมุมมอง มีลำดับขั้นตอน
การทำงานดังนี้
1 จัดทำฉาก ตกแต่งฉากตามที่ออกแบบไว้
2 จัดแสงให้ได้บรรยากาศตามบทและสภาพของฉาก
3 จัดติดตั้งไมโครโฟนตามจำนวนและจุดที่กำหนด
4 จัดวางตำแหน่งกล้องตามจุดที่กำหนดและทิศทางการเคลื่อนย้ายเปลี่ยน มุมและขนาดภาพ (3 กล้อง)

5 ซักซ้อมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งทีมช่างเทคนิค ช่างภาพ และผู้ที่มาร่วมในรายการให้มี
ความเข้าใจตรงกัน ขั้นตอนเปิดรายการเป็นอย่างไร เปิด - ปิดรายการด้วยกล้องตัวไหน(ซักซ้อมให้เหมือนกับการทำรายการจริง )
6 ลงมือถ่ายทำตามที่ได้ซักซ้อมไว้ ระหว่างการบันทึกรายการ (ในกรณีที่ไม่ใช่รายการสด)
หากมีข้อมูลไม่ถูกต้อง หรือผิดพลาดด้านอื่นๆ จะต้องสั่งหยุด (Cut) ทันที ต้องควบคุมคุณภาพ ระดับเสียง ความถูกต้องของเนื้อหา ถ่ายทำจบแล้วควรถ่ายภาพเก็บเผื่อไว้บ้างไว้สำหรับ Cut a way เพื่อแทรกภาพ (Insert) แก้ไขเพิ่มหรือลดความยาวของรายการได้
2 การถ่ายทำนอกสถานที่(Outdoor)แบ่งออกเป็นสามแบบคือ
1 แบบใช้กล้องเดี่ยวเรียกว่าชุด ENG. (Electronic News Gathering) ลักษณะที่ตัวกล้อง
กับเครื่องบันทึกเทปประกอบติดกัน ทั้งที่ถอดแยกส่วนได้ (Dock able) และที่ประกอบเป็นชิ้นเดียวกัน (One-pieceหรือ Camcorder) จึงเหมาะสำหรับงานถ่ายทำข่าว ถ่ายทำสารคดีที่ต้องการความคล่องตัว สะดวกรวดเร็วในการทำงานใช้ทีมงานไม่มาก เพียงสองหรือสามคนก็พอ โดยมีขั้นตอนดังนี้

 จัดเตรียมอุปกรณ์ กล้องและเครื่องบันทึกภาพ ขาตั้งกล้อง โคมไฟและขาตั้งโคมไฟ
เครื่องชาร์ทแบตเตอรี่ ไมโครโฟน ม้วนวิดีโอเทป หรือแผ่นที่ใช้เก็บข้อมูล (Memorycard) สายไฟ ปลั๊กไฟ แบตเตอรี่ สายสัญญาณภาพและเสียงพร้อมขั้วหัวสายชนิดต่างๆ
 ประสานงานด้านธุรการ การเงิน พัสดุ ฯ
 นัดหมายทีมงาน
 เดินทางตามกำหนดนัดหมาย
 ถ่ายทำตามบทในจุดที่กำหนด
2 แบบใช้กล้องมากกว่าหนึ่งตัว เรียกว่าชุด EFP.(Electronic Field Product)ใช้อุปกรณ์ คล้ายกับในห้อง Studio แต่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ถาวร มีกล้องตั้งแต่สองกล้องขึ้นไป ต่อสายCable จากกล้องเชื่อมต่อไปเข้าเครื่องผสมสัญญาณภาพ (Vision Mixer) สามารถเลือกได้จากหลายกล้องและหลายมุมมอง ถ่ายทำจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเคลื่อนย้ายติดตั้งได้ตามโอกาสและสภาพการใช้งาน เหมาะกับรายการสนทนา สาธิต อภิปราย ฯ ที่มีการถ่ายทำนอกสถานที่ตามเหตุการณ์จริง จึงมีลักษณะการทำงานผสมผสาน คล้ายกับการผลิตรายการในสถานที่ (Studio)

3 แบบใช้รถ Mobile Unit มีอุปกรณ์ระบบต่างๆ คล้ายในห้องผลิตรายการ (Studio) และชุด EFP.ติดตั้งไว้บนรถยนต์ สามารถเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ถ่ายทำได้ การเตรียมงานและการผลิตรายการ จึงมีขั้นตอนคล้ายกับการทำงานใน Studio และ EFP. การผลิตรายการโดยรถ Mobile เป็นการบันทึกรายการแล้วนำมาตัดต่อทำ Post Production ภายหลัง แต่ถ้าเป็นการถ่ายทอดสดบรรยากาศเหตุการณ์ในขณะนั้น เช่น การแข่งขันกีÃา งานพระราชพิธีหรือการประชุมสัมมนาฯ จะต้องมีชุดส่งสัญญาณจากรถ Mobile Unit ไปยังสถานีแม่ข่ายเพื่อส่งเผยแพร่รายการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ในเวลาจริง เรียกรถถ่ายทำนี้ว่ารถ
OB.Van (Outside Broadcast Van)

1 ความคิดเห็น: