วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พื้นฐานการตัดต่อรายการโทรทัศน์

พื้นฐานการตัดต่อรายการโทรทัศน์
การผลิตรายการโทรทัศน์นั้นแบ่งได้เป็นสามขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ (Pre-Production)
2. ขั้นผลิตรายการ (Production)
3. ขั้นตัดต่อและร้อยเรียงรายการ (Post - Production)
• การตัดต่อเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่มีความสำคัญไม่ต่างจากขั้นตอนอื่นๆ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานเพื่อใช้เป็นแนวทาง และมีหลักในการตัดต่อรายการดังนี้
• อักษรในภาษาอังกฤษ คำว่า *EDIT
• ทั้งสี่ตัวคือ E,D,I และ T นั้น ล้วนมีความหมายเกี่ยวกับการตัดต่อรายการทั้งสิ้น
ความหมายแต่ละตัวอักษร
• E=Elect แปลว่า เลือก หรือคัดเลือก หมายถึงการคัดเลือก Shot ที่ดีทีสุดจากม้วนที่ถ่ายทำมา ซึ่งการออกไปถ่ายทำนั้น จะถ่ายภาพเผื่อเลือกไว้แล้ว จึงต้องนำมาคัดเลือกเฉพาะ Shot ที่มีความถูกต้อง และมีคุณภาพที่ดีสุด
• D=Decision แปลว่า การตัดสินใจ หมายถึงเมื่อคัดเลือกแล้วต้องตัดสินใจ อย่ามัวเสียดาย Shot นั้นก็สวย Shot นี้ก็น่าใช้ ถ้ามัวแต่ลังเลงานอาจไม่เสร็จทันกันตามกำหนด และบางครั้งจึงต้องใส่ภาพตามความอยากมากกว่าตามความหมายที่ต้องการจะสื่อ
• I=Integrate แปลว่า การนำมารวมกันหรือ บูรณาการ เป็นการนำ Shot ต่างๆ ที่คัดเลือกไว้มาร้อยเรียงลำดับขั้นตอนให้เชื่อมโยงผสมผสาน ทั้งด้านเทคนิคด้านความถูกต้องของเนื้อหาเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีศิลปะ
• T=Terminate แปลว่า การทำให้สิ้นสุด หรือ จุดหมายปลายทาง หมายถึงต้องจบลงด้วยดีมีคุณภาพตรงตามวัตถุประสงค์


ลักษณะการตัดต่อ 3 รูปแบบ ดังนี้
1.การตัดชนภาพ The Cut คือ การตัดภาพชนกันจากช็อตหนึ่งต่อตรงเข้ากับอีกช็อตหนึ่ง วิธีนี้คนดูจะไม่ทันสังเกตเห็น
2.การผสมภาพ The Mix หรือ The Dissolve เป็นการค่อย ๆ เปลี่ยนภาพจากช็อตหนึ่งไปยังอีกช็อตหนึ่ง โดยภาพจะเหลื่อมกัน และคนดูสามารถมองเห็นได้
3.การเลือนภาพ The Fade เป็นการเชื่อมภาพที่คนดูสามารถเห็นได้ มี 2 แบบ คือ การเลือนภาพเข้า fade in คือการเริ่มภาพจากดำแล้วค่อย ๆ ปรากฏภาพซ้อนสว่างขึ้น มักใช้สำหรับการเปิดเรื่อง การเลือนภาพออก fade out คือการที่ภาพในท้ายช็อตค่อย ๆ มืดดำสนิท มักใช้สำหรับการปิดเรื่องตอนจบ
ในการตัดต่อ ควรคำนึงถึงความรู้เบื้องต้น 6 ประการดังนี้
1.แรงจูงใจ Motivation ในการตัดต่อ ไม่ว่าจะการ cut, mix หรือ fade ควรมีเหตุผลที่ดีหรือมีแรงจูงใจเสมอ ซึ่งแรงจูงใจนี้อาจเป็นภาพ เสียง หรือทั้งสองอย่างผสมกันก็ได้ ในส่วนของภาพอาจเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้นักแสดงจะแสดงเพียงเล็กน้อย เช่น การขยับร่างกายหรือขยับส่วนของหน้าตา สำหรับเสียงอาจเป็นเสียงใดเสียงหนึ่ง เช่น เสียงเคาะประตู หรือเสียงโทรศัพท์ดัง หรืออาจเป็นเสียงที่ไม่ปรากฏภาพในฉาก (off scene)
2.ข้อมูล Information ข้อมูลในที่นี้คือข้อมูลที่เป็นภาพ ช็อตใหม่ หมายถึงข้อมูลใหม่ คือถ้าไม่มีข้อมูลอะไรใหม่ในช็อตนั้น ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาตัดต่อ ไม่ว่าภาพจะมีความงดงามเพียงไร ก็ควรที่จะเป็นข้อมูลภาพที่แตกต่างจากช็อตที่แล้ว ยิ่งมีข้อมูลภาพที่คนดูเห็นและเข้าใจมากขึ้น ผู้ชมก็ยิ่งได้รับข้อมูลและมีอารมณ์ร่วมมากขึ้น
เป็นหน้าที่ของคนตัดที่จะนำข้อมูลภาพมาร้อยให้มากที่สุดโดยไม่เป็นการยัดเยียดให้คนดู







3.องค์ประกอบภาพในช็อต Shot Composition ผู้ตัดไม่สามารถกำหนดองค์ประกอบภาพในช็อตได้ แต่งานของผู้ตัดคือควรให้มีองค์ประกอบภาพในช็อตที่สมเหตุสมผลและเป็นที่ยอมรับปรากฏอยู่ องค์ประกอบภาพ
ในช็อตที่ไม่ดีมาจากการถ่ายทำที่แย่ ซึ่งทำให้การตัดต่อทำได้ลำบากมากขึ้น
4.เสียง Sound เสียงคือส่วนสำคัญในการตัดต่ออีกประการหนึ่ง เสียงรวดเร็วและลึกล้ำกว่าภาพ เสียงสามารถใส่มาก่อนภาพหรือมาทีหลังภาพเพื่อสร้างบรรยากาศ สร้างความกดดันอันรุนแรง และอีกหลากหลายอารมณ์ เสียงเป็นการเตรียมให้ผู้ชมเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนฉาก สถานที่ หรือแม้แต่ประวัติศาสตร์
ความคลาดเคลื่อนของเสียงที่เหมาะสมเป็นการลดคุณค่าของการตัดต่อ เช่น LS ของสำนักงาน ได้ยินเสียงจากพวกเครื่องพิมพ์ดีด ตัดไปที่ช็อตภาพใกล้ของพนักงานพิมพ์ดีด เสียงไม่เหมือนกับที่เพิ่งได้ยินในช็อตปูพื้น คือ เครื่องอื่น ๆ หยุดพิมพ์ทันทีเมื่อตัดมาเป็นช็อตใกล้ ความสนใจของผู้ชมสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยเสียงที่มาล่วงหน้า (lapping) ตัวอย่างเช่น การตัดเสียง 4 เฟรมล่วงหน้าก่อนภาพ เมื่อตัดจากภาพในอาคารมายังภาพฉากนอกอาคาร
5.มุมกล้อง Camera Angle เมื่อผู้กำกับฯ ถ่ายทำฉาก จะทำโดยเริ่มจากตำแหน่งต่าง ๆ (มุมกล้อง) และจากตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้กำกับฯ จะให้ถ่ายช็อตหลาย ๆ ช็อต คำว่า “มุม” ถูกใช้เพื่ออธิบายตำแหน่งของกล้องเหล่านี้ซึ่งสัมพันกับวัตถุหรือบุคคลหัวใจสำคัญคือแต่ละครั้งที่ cut หรือ mix จาก shot หนึ่งไปอีกช็อตหนึ่ง กล้องควรมีมุมที่แตกต่างไปจากช็อตก่อนหน้านี้ สำหรับคนตัด ความแตกต่างระหว่างแกน ไม่ควรมากกว่า 180 องศา และมักจะน้อยกว่า 45 องศา เมื่อถ่ายบุคคลเดียวกัน ด้วยประสบการณ์รูปแบบนี้อาจดัดแปลงได้อีกมาก
6.ความต่อเนื่อง Continuity ทุกครั้งที่ถ่ายทำในมุมกล้องใหม่ (ในซีเควนส์เดียวกัน) นักแสดงหรือคนนำเสนอจะต้องแสดงการเคลื่อนไหวหรือทำท่าเหมือนเดิมทุกประการกับช็อตที่แล้ววิธีการนี้ ยังปรับใช้กับ take ที่แปลกออกไปด้วย
ความต่อเนื่องของเนื้อหา Continuity of content ควรมีความต่อเนื่องของเนื้อหา เช่น นักแสดงยกหูโทรศัพท์ด้วยมือขวาในช็อตแรก ดังนั้นก็คาดเดาได้ว่าหูโทรศัพท์ยังคงอยู่ในมือขวาในช็อตต่อมา งานของคนตัดคือ ทำให้แน่ใจว่าความต่อเนื่องยังคงมีอยู่ทุกครั้งที่ทำการตัดต่อในซีเควนส์ของช็อต
ความต่อเนื่องของการเคลื่อนไหว Continuity of movementความต่อเนื่องยังเกี่ยวข้องกับทิศทางการเคลื่อนไหว หากนักแสดงหรือบุคคลเคลื่อนที่จากขวาไปซ้ายในช็อตแรก ช็อตต่อมาก็คาดเดาว่านักแสดงหรือบุคคลจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน เว้นแต่ในช็อตจะให้เห็นการเปลี่ยนทิศทางจริง ๆ

ความต่อเนื่องของตำแหน่ง Continuity of position ความต่อเนื่องยังคงความสำคัญในเรื่องของตำแหน่งนักแสดงหรือบุคคลในฉาก หากนักแสดงอยู่ทางขวามือของฉากในช็อตแรก ดังนั้นเขาจะต้องอยู่ขวามือในช็อตต่อมาด้วย เว้นแต่มีการเคลื่อนไหวไปมาให้เห็นในฉากถึงจะมีการเปลี่ยนไป

ความต่อเนื่องของเสียง Continuity of sound ความต่อเนื่องของเสียงและสัดส่วนของเสียงเป็นส่วนที่สำคัญมาก ถ้าการกระทำกำลังเกิดขึ้นในที่เดียวกันและเวลาเดียวกัน เสียงจะต้องต่อเนื่องจากช็อตหนึ่งไปยังช็อตต่อไป
เช่น ในช็อตแรกถ้ามีเครื่องบินในท้องฟ้าแล้วได้ยินเสียง ดังนั้นในช็อตต่อมาก็ต้องได้ยินจนกว่าเครื่องบินนั้นจะเคลื่อนห่างออกไป แม้ว่าบางครั้งอาจไม่มีภาพเครื่องบินให้เห็นในช็อตที่สอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่จำเป็นต้องมีเสียงต่อเนื่องในช็อตต่อไป
นอกจากนี้ ช็อตที่อยู่ในฉากเดียวกันและเวลาเดียวกัน จะมีเสียงพื้น(background sound) ที่เหมือนกัน เรียกว่า background ambience, atmosphere หรือเรียกย่อ ๆ ว่า atmos ซึ่งต้องมีความต่อเนื่อง

การตัด (The Cut)
การตัดเป็นวิธีการเชื่อมต่อภาพที่ธรรมดาที่สุดที่ใช้กัน เป็นการเปลี่ยนในพริบตาเดียวจากช็อตหนึ่งไปอีกช็อตหนึ่ง ถ้าหากทำอย่างถูกต้องมันจะไม่เป็นที่สังเกตเห็นในบรรดาวิธีการเชื่อมภาพ 3 แบบ การตัดเป็นสิ่งที่ผู้ชมยอมรับว่าเป็นรูปแบบของภาพที่เป็นจริง
การตัดใช้ในกรณีที่
เป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง
ต้องการเปลี่ยนจุดสนใจ
มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลหรือสถานที่เกิดเหตุ

การตัดที่ดีมาจากความรู้เบื้องต้น 6 ประการ
1.แรงจูงใจ Motivaation
ควรต้องมีเหตุผลในการตัด ยิ่งคนตัดมีทักษะมาก มันก็ยิ่งง่ายที่จะหาหรือสร้างแรงจูงใจสำหรับการตัด เนื่องจากมีพัฒนาการที่มากขึ้น ในการรับรู้ว่าจุดไหนการตัดต่อควรจะเกิดขึ้น จึงกลายเป็นการเข้าใจได้ง่ายกว่า การตัดก่อนเกิดแรงจูงใจหรือการตัดล่วงหน้า (early cut) นั้น ได้ผลอย่างไร การตัดหลังแรงจูงใจ เรียกว่าการตัดช้า (late cut)ความคาดหวังของผู้ชม สามารถมาหลังหรือมาก่อนได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ตัดจะใช้วิธีการตัดล่วงหน้าหรือการตัดช้า
2.ข้อมูล Information ภาพใหม่ควรมีข้อมูลใหม่เสมอ
3.องค์ประกอบภาพ Composition แต่ละช็อตควรจะมีองค์ประกอบภาพหรือกรอบภาพของช็อตที่มีเหตุมีผล
4.เสียง Sound ควรจะมีรูปแบบของเสียงที่ต่อเนื่องหรือพัฒนาการของเสียง
5.มุมกล้อง Camera angle ช็อตใหม่แต่ละช็อต ควรมีมุมกล้องที่แตกต่างจากช็อตเดิม
6.ความต่อเนื่อง Continuity การเคลื่อนไหวหรือการกระทำ ควรจะมีชัดเจนและความเหมือนกันในช็อต 2 ช็อต ที่จะตัดเข้าด้วยกัน
ข้อพิจารณาทั่วไป
เมื่อการตัดกลายเป็นสิ่งที่สังเกตได้หรือสะดุด มันเรียกว่า การตัดกระโดด (Jump Cut) การตัดแบบกระโดดมีบทบาทเป็นเหมือนการพักในการเชื่อมจากช็อตหนึ่งไปยังช็อตต่อไป
หากเป็นมือใหม่ คุณควรพยายามทำแบบตัดแบบต่อเนื่อง (clear cut) เสมอ และถือว่าตัดกระโดดเป็นการตัดที่ไม่น่าพึงพอใจ จนกว่าคุณจะรู้ว่าจะใช้มันอย่างไร
ที่ดีที่สุดแล้ว การตัดแต่ละครั้งควรจะประกอบด้วยความรู้เบื้องต้นทั้ง 6 ส่วน แต่ไม่ต้องทุกครั้งที่ตัด ข้อแนะนำคือพยายามให้มีมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของการตัดต่อผู้ตัดควรรู้จักความรู้เบื้องต้นนี้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นเวลาดูฟุตเทจ ก็ควรจะตรวจสอบด้วยความรู้เบื้องต้น 6 ประการนี้เท่าที่จะทำได้ทุกครั้ง

การผสมภาพ (The Mix)
การผสมรู้จักกันในชื่อของการเลือนภาพ (The Dissolve) การเลือนทับ (The Lap Dissolve) หรือการเกยทับ (The Lap)
นี่เป็นวิธีการเชื่อมจากช็อตหนึ่งไปยังอีกช็อตหนึ่งที่ใช้กันทั่วไปมากเป็นลำดับที่ 2
ทำได้โดยการนำช็อตมาเลือนทับกัน ดังนั้นตอนใกล้จบของช็อตหนึ่งจะเริ่มมีชีวิตต่อไปค่อย ๆ เห็นเด่นขึ้นมา เมื่อช็อตเก่าจางหายไป ช็อตใหม่ก็จะเข้มขึ้น การเชื่อมแบบนี้เห็นได้ชัดมาก จุดกึ่งกลางของการผสมคือเมื่อภาพแต่ละภาพเข้มเท่า ๆ กัน เป็นการสร้างภาพใหม่ การผสมต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมาก การผสมควรใช้อย่างถูกต้อง
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทันเวลา
- เมื่อต้องการให้เวลายืดออกไป
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่
- เมื่อมีความสัมพันธ์ของภาพที่ชัดเจน ระหว่างภาพที่กำลังจะออกและภาพที่กำลังจะเข้า
ความรู้เบื้องต้น 6 ประการในการผสมภาพ
1.แรงจูงใจ Motivation ควรต้องมีเหตุผลในการผสมภาพเสมอ
2.ข้อมูล Information ภาพใหม่ควรมีข้อมูลใหม่เสมอ
3.องค์ประกอบภาพ Composition ช็อต 2 ช็อตที่ผสมเข้าด้วยกัน ควรมีองค์ประกอบภาพที่เกยทับกันได้ง่ายและหลีกเลี่ยงภาพที่จะขัดกัน
4.เสียง Sound เสียงของทั้ง 2 ช็อต ควรจะผสานเข้าด้วยกัน
5.มุมกล้อง Camera angle ช็อตที่ผสมกันควรมีมุมกล้องที่ต่างกัน
6.เวลา Time การผสมภาพ ใช้เวลาอย่างน้อย 1 วินาทีและมากสุด 3 วินาที
ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้การผสมภาพแบบเร็วมากและแบบช้ามาก หรือการผสมภาพ 4 เฟรม สามารถทำได้โดยง่ายหรือสามารถผสมภาพได้นานเท่าความยาวของช็อตเลยทีเดียว หาก mix หรือ dissolve นานไปหรือสั้นไป (20 เฟรมหรือน้อยกว่า) ก็ไม่ดี เพื่อให้การผสมภาพได้ผลควรใช้เวลาอย่างน้อย 1 วินาที หากการผสมภาพยืดออกไป จะยิ่งทำให้คนดูสับสนมากขึ้น


การเลือนภาพ (The Fade)
การเลือนภาพ เป็นการเชื่อมภาพที่ค่อยเป็นค่อยไปจากภาพใดภาพหนึ่งไปยังฉากดำสนิทหรือขาวทั้งหมด หรือจากจอดำหรือขาวไปยังภาพใดภาพหนึ่ง
การเลือน มี 2 ลักษณะ
การเลือนภาพออก (fade out) เป็นการเชื่อมของภาพไปจอดำ
การเลือนภาพออก(fade out)ใช้เมื่อ จบเรื่อง จบตอน ฉาก
มีการเปลี่ยนเวลา
มีการเปลี่ยนสถานที่
การเลือนภาพเข้า (fade in) หรือ เลือนขึ้น (fade up) เป็นการเชื่อมภาพจากจอดำไปยังภาพ
การเลือนภาพเข้า(fade in)ใช้เมื่อ เริ่มต้นเรื่อง เริ่มต้นตอน บท หรือฉาก
มีการเปลี่ยนเวลา
มีการเปลี่ยนสถานที่
การเลือนภาพออกและเลือนภาพเข้ามักจะตัดไปด้วยกันที่สีดำ 100% หายากที่จะ 100% สีขาว ใช้ตอนจบฉากหนึ่งและเริ่มฉากใหม่ ยังใช้เพื่อแยกเวลาและสถานที่ด้วย
ความรู้เบื้องต้น 3 ประการของการเลือนภาพ
การเลือนภาพต้องการ 3 องค์ความรู้จากความรู้เบื้องต้น 6 ประการ ได้แก่
1.แรงจูงใจ Motivation ควรมีเหตุผลที่ดีในการเลือนภาพเสมอ
2.องค์ประกอบภาพ Composition ที่ควรเป็นคือการวางองค์ประกอบของช็อตก็ให้เป็นไปตามลักษณะการเชื่อมภาพไปฉากดำ คือ ค่อย ๆ ดำทั้งภาพ นั่นหมายความว่าไม่ต่างกันมากระหว่างส่วนต่างที่สุดของภาพและส่วนมืดที่สุด
3.ความรู้เรื่องเสียงของภาพ Sound ควรใกล้เคียงกับบางรูปแบบของจุดไคลแม็กหรือตอนจบสำหรับการเลือนภาพออก และตรงข้ามสำหรับเลือนภาพเข้า
ประเภทของการตัดต่อ การตัดต่อมี 5 ประเภท :
ตัดต่อการกระทำ action edit
ตัดต่อตำแหน่งจอ screen position edit
ตัดต่อรูปแบบ form edit
ตัดต่อที่มีเรื่องราว concept edit
ตัดต่อแบบผนวก combined edit
มันสำคัญสำหรับผู้ตัดที่จะต้องจำชนิดทั้งหมดของการตัดต่อและรู้ว่าทำอย่างไร คนตัดต้องสามารถแยกแยะแต่ละความรู้ที่ต้องการใช้ในการตัดต่อ
การตัดต่อการกระทำ The action edit
บางครั้งเรียกการตัดต่อความเคลื่อนไหวหรือตัดต่อความต่อเนื่อง เกือบจะใกล้เคียงการตัดชนภาพ มันสามารถเป็นการให้สัญญาณหรือเคลื่อนไหวที่ง่ายที่สุด เช่น การยกหูโทรศัพท์ การตัดต่อการกระทำ ต้องมีความรู้เบื้องต้น 6 ประการ หรือเกือบครบ 6 ประการ แรงจูงใจ ข้อมูล องค์ประกอบของช็อต เสียง มุมกล้องใหม่ และความต่อเนื่อง
ผู้ชายคนหนึ่งกำลังนั่งอยู่ที่โต๊ะ เสียงโทรศัพท์ดังขึ้น เขายกหูโทรศัพท์ขึ้นแล้วพูดตอบโต้
พิจารณา 2 ช็อต และชี้แจงตามความรู้ 6 ประการ
1.แรงจูงใจ Motivation เมื่อโทรศัพท์ดัง เรารู้ว่าผู้ชายคนนั้นจะหยิบหูโทรศัพท์และพูดตอบโต้ นี้น่าจะเป็นแรงจูงใจที่ดีที่จะทำการตัดต่อ
2.ข้อมูล Information ใน LS เราสามารถเห็นสำนักงาน ผู้ชายคนนั้นนั่งอย่างไรและทำอย่างไร MCU บอกเรามาขึ้นเกี่ยวกับชายคนนั้น ตอนนี้เราสามารถเห็นในรายละเอียดมากขึ้นว่าเขาหน้าตาท่าท่างเป็นอย่างไร สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ปฏิกิริยาของเขาต่อเสียงโทรศัพท์ที่ดังขึ้น ใน MCU เราสามารถเห็นภาษาท่าทางบางอย่าง ดังนั้น MCU บอกข้อมูลแก่เรา
3.องค์ประกอบของช็อต Shot composition องค์ประกอบของช็อตใน LS เป็นการสร้างเรื่องที่มีเหตุมีผล แม้แต่ให้มีต้นไม้เป็นฉากหน้า ซึ่งมันบอกลักษณะความคิดทั่ว ๆ ไปของสำนักงานและผู้ชายถูกเสนออย่างชัดเจนว่ากำลังทำงานอยู่ที่โต๊ะของเขา MCU จะให้ความสมดุลเรื่องช่องว่างบนศีรษะ ถูกต้องดี แม้ว่าคนตัดที่มีประสบการณ์อาจแย้งว่าน่าจะขยับจอไปทางขวาอีก เพื่อยอมให้มีพื้นที่แก่โทรศัพท์เคลื่อนไหวบ้าง แต่ในเรื่ององค์ประกอบของช็อตก็เป็นที่ยอมรับได้
4.เสียง Sound ควรมีเสียงหรือบรรยากาศของฉากหลังเหมือนกันในทั้ง 2 ช็อต ซึ่งบรรยากาศเป็นเสียงการจราจรอันวุ่นวายข้างนอกเบา ๆ หรือเสียงภายในสำนักงาน ควรจะให้เสียงมีความต่อเนื่องทั้ง 2 ช็อต
5.มุมกล้อง Camera angle ใน LS มุมกล้อง อยู่ 45 องศา เกือบจะอยู่ด้านข้าง ใน MCU มุมกล้อง อยู่ตรงหน้าบุคคลโดยตรง มุมกล้องทั้ง 2 มีความแตกต่างกัน
6.ความต่อเนื่อง Continuity จาก LS การเคลื่อนไหวของแขนคนกำลังยกหูโทรศัพท์ ควรต่อเนื่องมายัง MCU คือใช้แขนข้างเดียวกันยกหูโทรศัพท์
หากการตัดต่อมีองค์ประกอบหลักทั้ง 6 ประการนี้ จะมีความเนียน ไม่สะดุด และภาพเรื่องราวก็จะไหลลื่นไปโดยไม่หยุด


การตัดต่อตำแหน่งภาพ The screen position edit
การตัดต่อชนิดนี้ บางครั้งเรียกว่า การตัดต่อทิศทาง a directional edit หรือการตัดต่อสถานที่ a placement edit อาจเป็น การตัดชนภาพ (Cut) หรือการผสม (Mix) แต่มักจะเป็นการตัดชน หากว่าไม่มีการเปลี่ยนของเวลา
การตัดแบบนี้ มักจะมีการวางแผนไว้ตั้งแต่ช่วงก่อนถ่ายทำ หรือช่วงระหว่างการถ่ายทำ ขึ้นอยู่กับการกระทำของช็อตแรกที่บังคับหรือกำกับให้สายตาของคนดูไปยังตำแหน่งใหม่บนจอ
ตัวอย่าง 1 นักเดินทาง 2 คน หยุดเดินเมื่อพวกเขาเห็นและชี้รอยเท้าของคนที่พวกเขากำลังตามหา ทั้ง 2 ช็อตนี้ จะตัดชนภาพเข้าด้วยกัน มุมกล้องต่างกันและมีความต่อเนื่องของเท้าหรือขาที่เคลื่อนไหว มีข้อมูลใหม่ และมีความต่อเนื่องของเสียง มีแรงจูงใจคือ พวกเขากำลังชี้ลงไปอย่างจริงจัง และองค์ประกอบของช็อตก็ใช้ได้ผล
การตัดต่อ ประกอบด้วยความรู้เบื้องต้น 6 ประการ เป็นการตัดที่ได้ผล และภาพของการดำเนินเรื่องไม่ถูกขัดจังหวะ
ตัวอย่าง 2 ผู้หญิงคนหนึ่งกับปืนที่กำลังจ่อออกไปนอกตัว การตัดชนภาพจะได้ผลอีกครั้ง เพราะมีเหตุผลตามที่กล่าวในตัวอย่าง 1
ตัวอย่าง 3 ที่เวทีแห่งหนึ่ง โฆษกรายการกำลังประกาศการแสดงต่อไป “เอาละครับ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ” เขาตะโกน ผายมือไปทางข้างเวที “ขอต้อนรับ...ปอมพิสโต้ผู้ยิ่งใหญ่ !!” อีกครั้งที่ช็อตทั้งสองนำมาตัดต่อเข้าด้วยกัน
มุมกล้องแตกต่างกัน มีข้อมูลใหม่ เรายังไม่เห็น ปอมพิสโต้ผู้ยิ่งใหญ่มาก่อน และเราต้องการรู้ว่าหน้าตาเขาเป็นอย่างไร
เสียงน่าจะเสนอให้ยิ่งเป็นไปได้มากขึ้น การตัดชนทั้งเสียงปรบมือ หรือตอนพูดว่า “ขอต้อนรับ” หรือหลังจากคำพูด ถ้าคุณอยากยืดเวลาเข้าของปอมพิสโต้ผู้ยิ่งใหญ่ มีแรงจูงใจในการตัดชนภาพ ดังนั้นสังเกตได้ว่า ผู้ชมได้รับการบอกกล่าวว่า พวกเขากำลังจะได้พบกับปอมพิสโต้ ดังนั้นก็พบเขากันเลย องค์ประกอบของช็อตก็ได้ผล การตัดต่อตำแหน่งจอ ไม่จำเป็นต้องมีครบองค์ความรู้ทั้ง 6 ประการ อย่างไรก็ตาม ถ้ายิ่งมีมากก็ยิ่งดี

การตัดต่อรูปแบบ The Form Edit
เป็นการอธิบายที่ดีที่สุดของการเชื่อมจากช็อตหนึ่ง ซึ่งมีการแสดงรูป, สี, มิติหรือเสียงไปยังอีกช็อตหนึ่ง ซึ่งมีการแสดงรูปทรง สี มิติ หรือเสียงนี้สัมพันธ์กัน หากมีเสียงเป็นแรงจูงใจ การตัดต่อรูปแบบ สามารถเป็นการตัดชนได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการผสม หลักการนี้เป็นจริงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ และ/หรือบางครั้ง เวลาเปลี่ยน
ตัวอย่าง 1 ในห้องที่ร้อนชื้นของบรรดาฑูต นักหนังสือพิมพ์รอคอยการปล่อยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อที่จะพาพวกเขาให้เป็นอิสระ บนฝ้าเพดานมีพัดลมเพดานหมุน เฮลิคอปเตอร์มาถึง การตัดต่อสามารถทำได้ทั้งตัดชนหรือผสม การผสมภาพจะชี้ถึงความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ในเวลาที่ยิ่งใหญ่ รูปแบบ อาจเป็นการหมุนของพัดลม ซึ่งสัมพันธ์กับรูปแบบการหมุนของใบพัดเฮลิคอปเตอร์ เสียงอาจเกยทับกันเพื่อสร้างความเข้าใจล่วงหน้าหรือทีหลัง
ตัวอย่าง 2 การตัดรูปแบบใช้กันบ่อยในโฆษณา ในที่นี้บุคคลกำลังยืนพิงเลียนแบบตัวสัญลักษณ์บริษัท ปัญหาใหญ่ในการตัดต่อรูปแบบ คือ การตัดอาจดูเหมือนเป็นการประดิษฐ์เกินไป หากใช้บ่อย ๆ รูปแบบการตัดต่ออาจเดาได้
ความงามของการตัดต่อรูปแบบสามารถเห็นได้เมื่อมันถูกทำดี ๆ และเมื่อนำไปรวมกับการตัดต่อชนิดอื่น ๆ จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่โผล่เกินไป
การตัดต่อที่มีเรื่องราว The Concept Edit
บางครั้งเรียกการตัดต่อที่เคลื่อนไหว หรือการตัดต่อความคิด เป็นการเสนอความคิดที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ เพราะว่า 2 ช็อตที่ถูกเลือกและจุดที่ทำการตัดต่อ การตัดต่อเรื่องราวนี้เป็นการปูเรื่องในหัวเรา การตัดต่อที่มีเรื่องราว สามารถครอบคลุมถึงการเปลี่ยนสถานที่ เวลา ผู้คน และบางครั้งก็เป็นตัวเรื่อง มันสามารถทำได้โดยไม่มีการสะดุดของภาพ
ถ้าเป็นการตัดต่อที่มีเรื่องราวที่ดี มันสามารถบอกอารมณ์เป็นอารมณ์ดราม่าและสร้างความลึกซึ้ง แต่ทำยาก ถ้าไม่ได้วางแผนเป็นอย่างดีแล้ว ความไหลลื่นของข้อมูลภาพ อาจชะงักงันไปเลย
การตัดต่อแบบผนวก The combined edit
เป็นการตัดต่อที่ยากที่สุดแต่มีพลังมากที่สุด การตัดแบบผนวกนี้เป็นการรวมการตัดต่อ 2 แบบหรือมากกว่านั้นจากการตัดต่อทั้ง 4 แบบที่กล่าวมา เพื่อให้การตัดแบบผนวกได้ผลดี ผู้ตัดจำเป็นต้องจำทั้งเสียงและภาพที่ใช้ได้ในแต่ละช็อต ดังนั้นการตัดแบบนี้ควรได้รับการวางแผนเป็นอย่างดีทั้งก่อนการถ่ายทำและขณะถ่ายทำ
สรุป
หลักการของการตัดต่อโดยทั่วไป คือ
1. เสียงและภาพนั้นคือส่วนที่เสริมซึ่งกันและกัน
2. ภาพใหม่ควรให้ข้อมูลใหม่
3. ควรมีเหตุผลสำหรับทุกภาพที่ตัด
4. ให้ระวังเรื่อง “การข้ามเส้น”
5. เลือกแบบการตัดที่เหมาะสมกับเรื่อง
6. ยิ่งตัดต่อดี ยิ่งดูลื่นไหล
7. การตัดคือการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
ประเภทของอุปกรณ์การตัดต่อ
ประเภทของอุปกรณ์การตัดต่อจำแนกออกเป็น 2 ชนิด
- ชนิด Linear ตัดต่อโดยใช้เครื่องเล่นและบันทึกวีดิโอเทป
- ชนิด Nonlinear ตัดต่อโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
การตัดต่อเป็นงานขั้นสุดท้ายที่สำคัญมาก แม้การถ่ายทำมาจะดีเพียงใดแต่ถ้าหากตัดต่อไม่ดีรายการก็จะขาดความสมบูรณ์ ไม่น่าสนใจ ขั้นตอนนี้จึงต้องพิถีพิถันทั้งด้านเทคนิคและศิลปะ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนการทำงานดังนี้


ตัดต่อแบบ(วิธี) Offline
เป็นการตัดต่อที่ยังไม่ต้องเน้นเทคนิคและคุณภาพ ตัดเพื่อดูความต่อเนื่อง ความยาวในแต่ละShot ให้ตรงกับเนื้อหาตามบทเท่านั้น มีอุปกรณ์ให้เลือกใช้ได้ สองแบบคือ
1) อุปกรณ์แบบ Non-linear เป็นการตัดต่อด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยถ่ายสัญญาณ
ข้อมูลภาพ และเสียงลงไว้ในหน่วยความจำ (Hard disk) แล้วบีบอัดข้อมูล (Compress )ไม่ต้องละเอียดมากนักเพื่อให้สามารถบรรจุข้อมูลได้ปริมาณมากๆ จากนั้นจึงตัดต่อเลือกShot โดยมีรายละเอียด Time code (TC.) ของแต่ละม้วนไว้ เพื่อจัดทำเป็น EDL. (EditDecision List) สำหรับใช้เป็นข้อมูลตัดต่อแบบ Online ต่อไป
อุปกรณ์ตัดต่อแบบ Offline

แบบ Nonlinear แบบ Linear Cut to cut
2)อุปกรณ์แบบ Linearคือระบบเดิมที่ใช้เครื่อง Video tape ตัดต่อธรรมดาแบบ Cut to cut
ยังไม่ต้องใส่เทคนิคอะไรลงไป ตัดเพื่อเลือกดู Shot ที่ต้องการและ TC. เพื่อใช้เป็นแนวตัวอย่างสำหรับใช้ตัดต่อแบบ Online ที่สมบูรณ์ต่อไป

แบบNon-linear แบบLinear
ตัดต่อแบบ(วิธี) Online
เป็นขั้นตอนที่นำข้อมูลรายละเอียดจากวิธี Offline มาจัดทำเทคนิคพิเศษ เช่น ซ้อนตัวอักษร พลิกเปลี่ยนภาพ Dissolve Wipe จัดทำไตเติ้ล (Title) เครดิท (credit) ท้ายรายการเพื่อแสดงความรับผิดชอบผลงาน และเป็นประวัติไว้สืบค้นได้ บันทึกเสียงบรรยายเสียงประกอบเสียงดนตรี โดยเน้นคุณภาพที่สมบูรณ์ และถูกต้องก่อนที่จะนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ต่อไป เลือกใช้อุปกรณ์ได้สองแบบเช่นเดียวกัน คือ
1 อุปกรณ์แบบNon-linearเป็นการใช้คอมพิวเตอร์แต่จะบีบอัดข้อมูล (Compress)
ให้มีความละเอียดของภาพคมชัดสูงโดยใช้ข้อมูล EDL. จากวิธี Off line มาใช้เป็นตัวอย่าง
2 อุปกรณ์แบบ Linearใช้เครื่อง Video tape เป็นเครื่องเล่น ( Player) จำนวนสองเครื่อง
ต่อเชื่อมกับเครื่องผสมสัญญาณภาพและสร้างภาพพิเศษ SEG.(Special Effect Generator) ไปยังเครื่องบันทึก (Video tape Record ) หรือเรียกการตัดต่อแบบนี้ว่าA/B Roll Edit (เอ บีโรล) A และ B คือเครื่องเล่น (Player)
หมายเหตุ
1. Off Line/On Line เป็นวิธีการและขั้นตอนการตัดต่อ Offline จะใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่ต้อง
มีคุณภาพสูงก็ได้ การใช้เวลาตัดต่อด้วยวิธีนี้ จะทำให้ประหยัดงบลงทุนได้มาก เพราะอุปกรณ์ Offline
ราคาไม่แพง หรืออาจจะเรียกวิธี Offline นี้ว่าการทำ Pre- Edit และการตัดต่อแบบ Online ที่ใช้อุปกรณ์
คุณภาพสูง มีราคาแพงว่า Post-Edit ก็ได้
2. Linear และ Nonlinear เป็นชนิดของอุปกรณ์หรือเครื่องมือ Linear เป็นอุปกรณ์แบบเก่าที่แยกชิ้นส่วน
แต่ Non linear เป็นอุปกรณ์ที่รวมการทำงานทุกอย่าง ไว้ในคอมพิวเตอร์ถ้าจะทำเทคนิคพิเศษ
ให้ได้คุณภาพเท่ากัน อุปกรณ์ Nonlinear มีราคาถูกกว่าอุปกณ์ Linear
3. อย่ากังวลกับเรื่องของอุปกรณ์มากเกินไป เพราะเทคโนโลยีด้านนี้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก แต่ควรจะคำนึงถึง
เนื้อหา รูปแบบรายการ การสร้างสรรค์รายการ ที่จะสื่อไปสู่กลุ่มเป้าหมาย การผลิตรายการที่ดีมีคุณภาพ
ตามสภาพของอุปกรณ์ที่มีอยู่ เพราะบางครั้งรายการที่ดีก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องผลิตมาจากอุปกรณ์
รุ่นใหม่ หรือมีราคาแพงเสมอไป คงคล้ายกับการขับรถยนต์ ถ้ารู้และปฏิบัติตามกฎจราจรได้อย่างถูกต้อง
ก็สามารถที่จะขับรถยนต์ได้ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อและเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยเช่นกัน
การใส่ข้อความที่ต้นรายการ (Title) และท้ายรายการโทรทัศน์ (Credit)
• หนังสือทุกเล่มต้องมีปกมีชื่อเรื่อง และท้ายเล่มก็ต้องมีรายชื่อคณะผู้จัดทำ ระบุชื่อโรงพิมพ์ ปี พ.ศ.ที่พิมพ์เพื่อให้สืบค้นและใช้อ้างอิงได้ในภายหลัง รายการโทรทัศน์ก็ไม่ต่างกัน ทุกรายการจะต้องมีหัวรายการ หรือมักเรียกทับศัพท์ว่าไตเติ้ล (Title)
• ท้ายรายการก็ต้องให้เกียรติทีมงาน โดยระบุหน้าที่ว่าใครทำอะไรตรงส่วนไหนบ้าง เรียกว่าให้เครดิท (Credit) และยังเป็นการรับผิดชอบผลงาน ให้สามารถติหรือชมได้ถูกต้องตรงตัว

ต้นรายการ (Title)
(ชื่หน่วยงาน)..................................................................................................................................
เสนอ
รายการ...........................................................................................................................................
เรื่อง...............................................................................................................................................
..........................................................................................................................................วิทยากร
......................................................................................................................พิธีกร/ดำเนินรายการ
..........................................................................................................................................เขียนบท
(ไม่ต้องใส่นาย นางนำหน้าแต่หากมียศ ตำแหน่ง เช่น ผศ. รศ. พตอ. ดร. นพ. มรว. คุณหญิง ให้ใส่ได้ตามความเหมาะสม)

ท้ายรายการ (Credit)
.......................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
ที่ปรึกษา
(ผู้ที่มีต่ำแหน่งหน้าที่ระดับสูงในองค์กร เช่นอธิบดี ปลัดกระทรวงฯกี่คนก็ตามความเหมาะสมเป็นการให้เกียรติ และรับผิดชอบร่วมกัน)
...........................................................................................................................................................ช่างภาพ
..............................................................................................................................................ตัดต่อลำดับภาพ
......................................................................................................................................บรรยาย (ผู้ที่ให้เสียง)
................................................................................................................................................ฉาก/ศิลปกรรม
............................................................................................................................................................ กราฟิก
............................................................................................................................................................ .จัดแสง
.................................................................................................................................................... ควบคุมเสียง
.....................................................................................................................................................ประสานงาน
ขอขอบคุณ........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
(ชื่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื่อสถานที่ อุปกรณ์ หรืออำนวยความสะดวกฯ)

……………………………………………………………….........................................................กำกับเวที
(Floor manager)
.....................................................................................................................................................กำกับรายการ
(Director)
.................................................................................................................................................ควบคุมการผลิต
(Producer)
..................................................................................................................................................อำนวยการผลิต
(ผอ.หรือหัวหน้าหน่วยงานนั้น)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
ผลิตรายการ
(ชื่อหน่วยงานที่ผลิต เรียงตามลำดับจากระดับหน่วยที่ผลิตไปถึงระดับที่สูงขึ้นไปตามสายงาน) ก่อนถึงตำแหน่งประสานงานถ้ามีตำแหน่งอื่นใส่ไว้อีกก็ได้ เช่น แต่งหน้า ทำผม เครื่องประดับเครื่องแต่งกาย และทุกตำแหน่งจะมีผู้ช่วยก็ได้ เช่น ผู้ช่วยกล้องผู้ช่วยผู้กำกับ ถ้าเป็นรายการที่ใช้กล้องตัวเดียว ไม่ต้องมีตำแหน่ง
กำกับเวที

เลือกแบบ (Font) ตัวอักษรให้อ่านง่าย เหมาะสมกับเนื้อหา เลือกสีตัวอักษรสีขอบตัวอักษรและสีพื้นให้
ตัดกัน (Contrast) เพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด ไม่ควรใช้สีที่ใกล้เคียงกัน ไม่เน้นลวดลายสวยงามแต่อ่านยาก การเลื่อนบรรทัดหรือเปลี่ยนหน้าควรอ่านในใจให้พอดี อย่าแช่ค้างไว้หรือเร่งให้เร็วเกินไปจนอ่านไม่ทัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น