วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

แผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
หลักสูตร...................................ชั้น...................................
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ประวัติยุวกาชาด เวลา 60 นาที
สอนวันที่ 3 ธันวาคม 2553 จำนวนนักเรียน 15 คน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.สาระสำคัญ
1. เรียนรู้และเข้าใจเรื่องประวัติของยุวกาชาด ได้แก่ การกำเนิดยุวกาชาด ผู้ให้กำเนิดยุวกาชาด ประวัติยุวกาชาด หลักการกาชาด การตั้งสภาอุณาโลมแดง
2. เงื่อนที่ใช้ในการปฐมพยาบาล
3. การประดิษฐ์ (การพับนกจากกระดาษ)

2.จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจเรื่องประวัติของยุวกาชาด การกำเนิดยุวกาชาด ผู้ให้กำเนิดยุวกาชาด หลักการกาชาด การตั้งสภาอุณาโลมแดง
2. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากการผูกเงื่อนไปใช้ในการปฐมพยาบาลขั้นต้นให้ผู้ป่วย หรือผู้ได้รับบาดเจ็บ
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประดิษฐ์ของตกแต่งบ้านเอง

3.สาระการเรียนรู้
1. ยุวกาชาดกำเนิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่บาดเจ็บจากการทำสงคราม ผู้ให้กำเนิดยุวกาชาดคือ อังรีดูนังด์ (Jean Henry Dunant) หลักการกาชาด และการตั้งสภาอุณาโลม
2. ขั้นตอนการผูกเงื่อนในการปฐมพยาบาลขั้นต้นให้ผู้ป่วย หรือผู้ได้รับบาดเจ็บ
3. ขั้นตอนในการประดิษฐ์ และประโยชน์

4.กิจกรรมการเรียนรู้
4.1 การนำเข้าสู่บทเรียน ทดสอบก่อนเรียน โดยการตั้งคำถาม
4.2 ขั้นกิจกรรม
4.2.1 แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม ผู้เรียนมีทั้งหมด 15 คน โดยแบ่งเท่าๆ กัน หนึ่งกลุ่มจะมีสมาชิกกลุ่ม 5 คน
4.2.2 ให้แต่งละกลุ่มเข้าเรียนตามฐาน แต่ละฐานใช้เวลาในการสอน 20 นาที เมื่อหมดเวลาในแต่ละฐาน ให้เวียนฐาน จนกว่าจะครบทั้ง 3 ฐาน
ฐานประกอบด้วย
ฐานที่ 1 ประวัติของยุวกาชาด (นางสาวจิฬาพร เสนสวนจิก)
ฐานที่ 2 เงื่อนที่ใช้ในการปฐมพยาบาล (นางสาวสุกานดา มาสวนจิก)
ฐานที่ 3 การประดิษฐ์ (การพับนกจากกระดาษ) (นางสาวจิดาภา หมู่พรมมา)
4.3 การสรุป ให้ผู้สอนในแต่ละฐานสรุปเนื้อหา

5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. กระดานความรู้เรื่องประวัติของยุวกาชาด
2. กระดานความรู้เรื่องการผูกเงื่อนที่ใช้ในการปฐมพยาบาล
3. เชือกผูกเงื่อน
4. กระดาษในการประดิษฐ์

6.กิจกรรมการวัดและประเมินผล
1. ตั้งคำถามก่อนและหลังเรียน เพื่อทดสอบความรู้ที่ได้รับจากการเข้าชั้นเรียนในแต่ละฐาน โดยสุ่มถามคำถามผู้เรียนคนละ 1 คำถาม ฐานที่ 1 เรื่องประวัติยุวกาชาด ผู้ให้กำเนิด และยุวกาชาดเกิดขึ้นเพื่ออะไร ฐานที่ 2 เงื่อนที่ใช้ในการปฐมพยาบาล และฐานที่ 3 ประโยชน์ในการประดิษฐ์
2. เก็บผลงานนักเรียน และให้คะแนนการทำงาน
3. เกณฑ์การประเมิน มี 4 ระดับ คือ ดีมาก พอใช้ ปรับปรุงแก้ไข และไม่ผ่าน












ใบความรู้ที่ 1 (ฐานที่ 1)
ประวัติกาชาดและยุวกาชาดสากล
ผู้ให้กำเนิดการกาชาด จองอังรีดูนังต์ ( Jean Henry Dunant) เป็นชาวสวิสเกิดที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ได้เกิดสงครามที่หมู่บ้านซอลฟาริโน ในประเทศอิตาล เป็นสงครามระหว่างพระเจ้านโปเลียนที่3กับพระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่2 กษัตริย์แห่งชาดิเนียกัจักรพรรดิฟรานซิสโจเซฟที่1แห่งออสเตรีย ขณะสงครามจองอังรี ดูนังต์ ได้เดินทางผ่านพบเห็นเหตุการณ์ที่มีการสู้รบที่รุนแรงมีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จึงได้ให้การช่วยเหลือโดยขอร้องชาวบ้านหมู่บ้านซอลฟาริโนมาช่วยกันรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บทั้งสองฝ่าย
หลังจากเหตุการณ์ที่หมู่บ้านซอลฟาริโน เขาได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า "ความทรงจำแห่งหมู่บ้านซอลฟาริโน" ในหนังสือได้กล่าวถึงความเป็นไปที่จะจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยดูแลทหารบาดเจ็บยามสงคราม ความคิดของ จอง อังรีดูนังต์ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุมสมาคมสงเคราะห์สาธารณแห่งเจนีวาที่ประชุมตั้งอนุกรรมการ5คน"Committee Of Five" ซึ่งทที่มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2406 เรียกตนเองว่า "คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อการบรรเทาทุกข์นักรบบาดเจ็บ" หลังจากนี้อีก18ปีคือปีพ.ศ.2423ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ" รัฐบาลสิสเซอร์แลนด์จัดประชุมนานาชาติขึ้นมีประเทศอื่นๆในยุโรปเข้าร่วมประชุม12ประเทศผลจากที่ประชุมได้ตกลงกันภายฬต้ "อนุสัญญาเจนีวา" มีสาระสำคัญในการสงเคราะห์ผู้บาดเจ็บจากสนามรบจะได้รับการคุ้มครองภายใต้ เครื่องหมายกาบาทแดงบนพื้นขาว อนุสัญญาเจนีวาทั้ง4ฉบับมีสาระสำคัญดังนี้
อนุสัญญาฉบับที่1 ว่าด้วยความช่วยเหลือที่ให้แก่ทหารบาดเจ็บและป่วยในสนามรบ
อนุสัญญาฉบับที่2 ว่าด้วยความช่วยเหลือทหารที่ได้รับาดเจ็บ
อนุสัญญาฉบับที่3 ว่าด้วยการปฎิบัติต่อเชลยศึก
อนุสัญญาฉบับที่4 ว่าด้วยการคุ้มครองพลเรือนยามสงคราม
สัญลักษณ์การกาชาด
กากบาทแดงบนพื้นขาวใช้ในประเทศทั่วไปเป็นรูปกาบาทแดง 5 รูป

ซีกวงเดือนแดง ( RED CRESCENT) ใช้เฉพาะกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลาม

หลักการกาชาด หมายถึง แนวทางการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมของสภากาชาดประเทศต่างๆที่เป็นสหพันธ์ประเทศออสเตรีย ลงมติเห็นชอบกำหนดหลักการกาชาด 7ข้อคือสภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดงซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศครั้งท่20ปีพ.ศ.2508 ณ กรุงเวียนนา



สมาชิกยุวกาชาดแบ่งเป็น4ระดับ
เตรียมยุวกาชาด ชั้น ป.1-ป.2 ระดับชั้นที่1 ชั้นป.1-ป.4 ระดับชั้นที่2 ชั้น ป.5-ป.6
ระดับชั้นที่3 ชั้นม.1-ม.3 ระดับชั้นที่4ชั้น ม.4-ม.6
การทำความเคารพของสมาชิกยุวกาชาด
สมาชิกยุวกาชาดทำความเคารพด้วยการไหว้เมื่ออยู่นอกแถว สมาชิกยุวกาชาดทำความเคารพด้วยการยืนตรงเมื่ออยู่ในแถว
สัญญาณนกหวีด
-------------------------------- หยุด เตรียม - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - เรียกทั้งหมด
- - - ------ - - ------------------ เรียกหัวหน้าหน่วย ----------- ---------- ------ - เชิญธงชาติ
-- ----- -- ------- -- --------- ฉุกเฉิน
การตั้งสภาอุณาโลมแดง
ในปีพ.ศ.2436(ร.ศ.112) ประเทศไทยเราได้ทำสงครามกับประเทศฝรั่งเศสในเรื่องเขตแดนแม่น้ำโขง ทหารไทยได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ (ราชนิกูล วงศ์ชูโต) จึงได้นำความขึ้นกราบทูลต่อสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขอให้ทรงเป็น "ชนนีผู้บำรุง" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบจึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งสมาคมการกุศล โดยมีนามว่า " สภาอุณาโลมแดง "
งานสำคัญของสภาอุณาโลมแดงสมัยนั้นคือการจัดส่งเครื่องยา อาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ต่างๆไปบำรุงทหารในสนามรบ ในสมัยพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรโรงพยาบาลของสภากาชาดญี่ปุ่น จึงทรงจัดตั้งโรงพยาบาลของสภากาชาดไทยขึ้นบ้าง ได้แก่ "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" สภากาชาดได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สันนิบาตสภากาชาดรับเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2464
การตั้งอนุกาชาดไทย
เริ่มต้นเมื่อ วันที่ 27 มกราคม 2465โดยมีเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็นผู้เริ่มก่อตั้ง พระยาราชานุกูลวิบูลย์ภักดี (รื่น ศยามานนท์) เป็นผู้อำนวยการกองอนุกาชาดเป็นคนแรก ขึ้นกับกรมพลศึกษากระทรวงศึกษาธิการ จากการประชุมกรรมการบริหารกองอนุกาชาดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม2520เปลี่ยนคำว่า" อนุกาชาด " เป็น " ยุวกาชาด "


















ใบความรู้ที่ 2 (ฐานที่ 2)
เงื่อนที่ใช้ในการปฐมพยาบาล

เงื่อนพิรอด (Reef Knot) คือ
- เงื่อนที่ใช้สำหรับต่อเชือกที่มีขนาดเท่า ๆ กัน
- เงื่อนซึ่งแบนราบ ดังนั้น จึงใช้ประโยชน์ในการห่อของหรือผูกผ้าพันแผล
- เงื่อนซึ่งผูกแน่น แต่ง่ายต่อการแก้
- เงื่อนซึ่งมีความดึงแน่นกับเชือกที่มีขนาดเท่ากัน







ประโยชน์
1. ใช้เชือกต่อ ๒ เส้น มีขนาดเท่ากัน และเหนี่ยวเท่ากัน
2. ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัสดุต่างๆ
3. ใช้ผูกเชือกผูกรองเท้า (ผูกเงื่อนพิรอด กระตุกปลาย ๒ ข้าง)
4. ใช้ในการปฐมพยาบาล เช่น ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ ใช้ผูกปลายเชือกกากบาทญี่ปุ่น
5. ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ความยาวตามต้องการในกรณีที่ไม่มีเชือก เช่น ต่อผ้าปูที่นอน ใช้ช่วยคนในยามฉุกเฉินเมื่อเวลาเกิดเพลิงไหม้ และใช้ผ้าพันคอลูกเสือต่อกัน เพื่อช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง และใช้ผูกโบ
ใบความรู้ที่ 3 (ฐานที่ 3)
การพับนกจากกระดาษ
การพับกระดาษ (ORIKAMI)
โอริงามิ (ORIGAMI) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลตรงตัวว่า การพับกระดาษ ได้มีการแปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก ต่อมาจึงแปล เป็นภาษาอื่นๆ อีก แต่ยังคงให้เกียรติเรียกทับศัพท์ว่า ออริกามิ ตามต้นฉบับที่สืบทอดมาจากวัฒนธรรมประเพณีอันเก่าแก่ของญี่ปุ่นในเรื่องการ พับกระดาษ
ทุกวันนี้ชาวญี่ปุ่นมักจะผูกติดของที่ระลึกเล็กๆ ซึ่งพับจากกระดาษ เรียกว่า โนชิ ไปกับห่อของขวัญด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่าประเพณีการพับกระดาษนี้ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน การพับกระดาษเป็นของเล่นได้แพร่จากญี่ปุ่นสู่ยุโรปเมื่อประมาณ ค.ศ.1880 (พ.ศ.2423) โดยนักแสดงมายากลบนเวที และนักศึกษา ชาวญี่ปุ่นก็มีส่วนเผยแพร่วิธีพับนกกระเรียนกางปีก
การพับนกกระเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น